คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 527 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 46
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อแหวนเพชรกับสร้อยคอทองคำจากโจทก์แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อ และได้จำหน่ายทรัพย์ดังกล่าวให้บุคคลอื่น จึงขอให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อ แต่โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหายักยอกทรัพย์ดังกล่าว ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด โดยได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ตลอดจนข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วว่าฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อแหวนเพชรกับสร้อยคอทองคำจากโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นจะใช้คำว่าพยานโจทก์ยังมีเหตุสงสัยว่าจำเลยอาจจะไม่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อตามฟ้อง ก็หาใช่เหตุสงสัยดังถ้อยคำที่ปรากฏไม่ ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าซื้อตามฟ้องหรือไม่ไว้แล้ว ทั้งเป็นประเด็นเดียวกับประเด็นในคดีนี้ที่ได้กำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถาน และคดีนี้ซึ่งคู่ความนำสืบทำนองเดียวกับที่สืบในคดีอาญาดังกล่าว ก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าซื้อทรัพย์ตามฟ้อง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4178/2533
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 249 วรรคแรก พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ม. 54, 55 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 112 จัตวา
กรณีของจำเลยไม่อาจบังคับตามมาตรา 54 วรรคสอง และมาตรา 55 วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 เพราะคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมิได้มีคำเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขตามมาตรา 54 วรรคสอง แต่คณะกรรมการใช้อำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์แก่จำเลย ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง และได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยมีหน้าที่ชำระภาษีอากรและภาษีอากรเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 55 วรรคสาม แต่จำเลยมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 112 จัตวา ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์คิดเงินเพิ่มจากจำเลยเกินเงินภาษีอากร เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 55 วรรคสี่นั้น จำเลยมิได้กล่าวอ้างความข้อนี้มาในคำให้การ ทั้งยังเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย เพราะศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยต้องชำระเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวาหาใช่ต้องชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 55 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2533
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 172, 225 ประมวลรัษฎากร ม. 65, 65 ตรี (1), 79
เมื่อได้รับเบี้ยประกันจากผู้เอาประกันภัยแล้ว โจทก์นำเบี้ยประกันภัยไปจ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันภัยต่อกับบริษัทประกันภัยอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อบรรเทาความเสียหายในกรณีที่ต้องชำระเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย โดยโจทก์ได้รับส่วนลดหรือค่านายหน้าจากบริษัทที่รับประกันภัยต่อ และได้นำส่วนลดดังกล่าวมาบันทึกเป็นรายได้ในกิจการของโจทก์เงินส่วนลดในการประกันภัยต่อที่โจทก์ได้รับจึงเป็นเงินได้หรือรายรับที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วยแม้เงินจำนวนดังกล่าวผู้รับประกันภัยต่อจะนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน เพราะเป็นคนละนิติบุคคล
ความหมายของคำว่า "รายรับ" ตามมาตรา 79 เป็นเรื่องของภาษีการค้าไม่อาจนำมาใช้ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำดอกเบี้ยและเงินปันผลรับ รายได้ค่าเช่าและกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน รวมทั้งรายได้เบ็ดเตล็ดมารวมเป็นรายรับเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ ไม่ได้กล่าวถึงค่าสินไหมรับคืนอัคคีภัย ค่าสินไหมรับคืนรถยนต์กับค่าสำรวจรายงานอัคคีภัยที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินนำรายรับทั้งสามรายการดังกล่าวมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการไม่ชอบนั้น จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง
เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยที่โจทก์กันไว้ตามมาตรา 65 ตรี (1) (ข) นั้นจะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปีถัดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4196/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1030, 1079, 1336
ผู้เป็นหุ้นส่วนนำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดมาลงทุนเข้าหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล เพียงแต่ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตกเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตั้งแต่เวลาที่นำมาลงหุ้นแล้ว แม้จะไม่มีการจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินพิพาทนั้นก็ตาม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 84/2512)
ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับห้าง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1030 นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งมอบตัวทรัพย์ มิได้เกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ล้มละลายใช้สิทธิของห้างในฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิที่จะติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือได้เสมอโดยไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4160/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2533
ประมวลรัษฎากร ม. 78 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 ม. 5 (8) (จ)
มาตรา 5(8)(จ) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 179) พ.ศ. 2529บัญญัติให้ยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่วเฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักรและมิได้ระบุในบัญชีที่ 1บัญชีที่ 2 และบัญชีที่ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น การขายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่วจะได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ก็ต่อเมื่อสินค้าดังกล่าวมิได้ระบุในบัญชีที่ 1 บัญชีที่ 2 และบัญชีที่ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ด้วย สินค้าของโจทก์เป็นวุ้นเส้นและเส้นหมี่ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุอยู่ในห่อกระดาษแก้ว ระบุชื่อสินค้า ตราของสินค้า กับมีภาพประกอบและระบุว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก หรือที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อที่มีชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าปรากฏอยู่บนหรือในภาชนะหรือหีบห่อซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดจากภายนอก จึงเป็นสินค้าที่ระบุในบัญชีที่ 1หมวด 1(4)(ข) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8)(จ) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว