คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6109/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6039/2533
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 142 (5), 145, 246, 247
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยที่ 1 และสัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทตามส่วน แต่ที่ดินพิพาทก่อนทำนิติกรรมดังกล่าวมีชื่อมารดาโจทก์ซึ่งมิได้ถูกฟ้องหรือเป็นคู่ความในคดีด้วยเป็นเจ้าของ ศาลไม่อาจพิจารณาพิพากษาตามคำขอให้มีผลกระทบกระเทือนสิทธิของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 575 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 177 วรรคสาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 31
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา177 วรรคสาม การที่จำเลยจะฟ้องแย้งเข้ามาในคดีที่ถูกฟ้องนั้นเรื่องที่ฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณารวมกันได้เพื่อจะได้พิจารณาไปเสียคราวเดียวกัน โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดในสัญญา โดยไม่มีเหตุอันสมควร ขอให้จำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบห้าทุกระยะเจ็ดวันตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยให้การว่า ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์จริง และฟ้องแย้งว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยโดยไม่ทำหน้าที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกลูกค้าปรับและขาดกำไรไปอย่างมาก ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการเงินอันเป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยไม่อาจจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานของจำเลยได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่นนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาทั้งตามคำฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยนั้นมาจากสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อกันตามสัญญาจ้างแรงงาน และข้ออ้างตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่าโจทก์ทำผิดสัญญาในการทำหน้าที่ที่กำหนดไว้ต่อกันทำให้จำเลยเสียหายจนไม่อาจจ่ายค่าจ้างได้ตามกำหนดเวลาก็เป็นข้ออ้างที่เป็นข้อเท็จจริงอันเดียวกันกับที่จำเลยยกขึ้นมาเป็นข้อปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ในข้อที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดเวลาโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่สามารถพิจารณารวมกันไปได้ศาลชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาดำเนินการต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6094/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 438 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 248
แม้โจทก์ที่ 2 จะขับรถจักรยานยนต์ให้โจทก์ที่ 1 และที่ 3นั่งซ้อนท้ายมาด้วย เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เหตุดังกล่าวมิใช่เหตุโดยตรงที่ทำให้รถเกิดเฉี่ยวชนกันเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถแซงรถผู้อื่นบนสะพานล้ำเส้นทึบแบ่งกึ่งกลางถนนออกไปเฉี่ยวชนรถโจทก์ที่ 2 ซึ่งขับมาด้วยความเร็วประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเหตุที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว โจทก์ที่ 2 เป็นข้าราชการ แม้จะมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลทั้งในส่วนของตนตลอดจนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาและโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรก็ตาม สิทธิดังกล่าวก็เป็นสิทธิที่รัฐกำหนดให้แก่ข้าราชการไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดได้อีก โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกันโดยแยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาชัดเจน เป็นส่วนของแต่ละคน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 3 เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 3จะฎีกาเกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6042/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6009/2533
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 59, 341, 343 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158 (5) พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ม. 30, 82
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โจทก์กลับบรรยายฟ้องว่า ความจริงจำเลยกับพวกมิได้มีความสามารถในการจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายและประชาชนดังที่โฆษณากล่าวอ้างเลยแสดงว่าจำเลยกับพวกมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่คนหางานแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528 มาตรา 30, 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 608, 618, 623, 625, 880
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุว่าจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์รับจ้างขนส่งสินค้าโดยทางบกและทางน้ำ ผู้ตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้บรรทุกสินค้าจากโกดังสินค้าของผู้ตราส่งไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย และชำระเงินค่าจ้างขนส่งให้จำเลยที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 2 ทำการรับขนของเพื่อบำเหน็จในทางการค้าปกติของตน ย่อมเป็นผู้ขนส่งตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัทน.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ ณประเทศสิงคโปร์ รับจ้างบริษัทล. ผู้ตราส่งบรรทุกสินค้าลงเรือเพื่อขนส่งไปยังเมืองฮ่องกงทั้งออกใบตราส่งให้แก่ผู้ตราส่งการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญารับขนส่งกับ บริษัทล.ผู้ตราส่งแทนบริษัทน.ผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่สินค้าสูญหายให้แก่บริษัทท.ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทล.ผู้เอาประกันภัย และบริษัทท.ผู้รับประโยชน์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 3 ผู้ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเพราะเหตุสินค้าที่ทำการขนส่งสูญหายได้ แม้ตามหนังสือโอนสิทธิที่บริษัทท.ผู้รับประโยชน์จะได้โอนบรรดาสิทธิเกี่ยวกับสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ให้โจทก์เรียกร้องเอาจากบริษัทน.และห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ก็ตาม หาทำให้โจทก์หมดสิทธิฟ้องร้องจำเลยทั้งสามแต่ประการใด การที่บริษัทล.ผู้ตราส่งลงชื่อสลักหลังโอนใบตราส่งให้แก่บริษัทท.เพื่อให้บริษัทท.นำใบตราส่งเป็นหลักฐานในการรับสินค้ามิใช่บริษัทล.ผู้ตราส่งแสดงความตกลงชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ข้อยกเว้นและจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1 อ้างว่ามีอยู่ในใบตราส่งจึงตกเป็นโมฆะ เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าถูกลากจูงไปถึงโกดังของบริษัทท.ผู้รับตราส่งบริษัทส.ได้ทำการสำรวจสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์พบว่าสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์สูญหายไปทั้งหมดกรณีจึงมิใช่บริษัทท.ผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน อันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 การที่บริษัทล.ผู้ตราส่งว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยที่ 1 มายังบริษัทล.เพื่อบรรจุสินค้าลงในตู้ เมื่อบรรจุสินค้าแล้วได้ให้จำเลยที่ 2 ลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อส่งให้แก่จำเลยที่ 1 นั้นสัญญารับขนระหว่างบริษัทล.กับจำเลยที่ 2 เป็นคนละฉบับไม่เกี่ยวข้องกันกับสัญญารับขนระหว่างบริษัทล.กับจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นการขนส่งโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด ค่าสำรวจสินค้าที่ผู้รับตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทผู้นำสำรวจมาทำการสำรวจสินค้ามิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญารับขนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าสำรวจสินค้าไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5349/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 425
อ. ลูกจ้างจำเลยตำแหน่งสัตวบาล มีหน้าที่ดูแลสุกรขุน ไม่มีหน้าที่ขับรถยนต์ หลังจากเลิกงาน อ. ได้ขอยืมรถยนต์จากผู้จัดการของจำเลยขับไปรับประทานอาหารข้างนอกฟารม์ของจำเลย จึงเป็นเรื่องส่วนตัวของ อ. แม้ว่าผู้จัดการของจำเลยจะรู้เห็นยินยอมให้นำรถไปใช้ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขับรถไปในทางการที่จ้าง เมื่อ อ.ขับรถไปเกิดเหตุชนกันขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2533
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 21 (4), 40, 41
การร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุว่าป่วยเจ็บนั้น ป.วิ.พ.มาตรา 40 และ 41 มิได้บังคับว่าผู้ที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นจะต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดงด้วย จึงอยู่ที่ข้อเท็จจริงว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บจริงหรือไม่ หากศาลมีความสงสัยว่าทนายจำเลยจะป่วยเจ็บจริงหรือไม่ และอาการที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นจะร้ายแรงถึงกับไม่สามารถจะมาศาลได้หรือไม่ ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21(4) หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปทำการตรวจดู ว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บหรือไม่เพียงใดแล้วจึงวินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำร้องนั้น ตามมาตรา 41.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5986/2533
nan
nan