
คำพิพากษาให้รอลงอาญา หมายถึงการที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่ให้รอการลงโทษหรือรอกำหนดโทษเอาไว้ก่อนภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด โดยศาลอาจกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการรอลงอาญาไว้ก็ได้ และปล่อยให้จำเลยออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขบางประการ แล้วเพื่อน ๆ
สงสัยกันไหมครับว่าทำอย่างไรให้ศาลพิพากษารอลงอาญา ?
ในเรื่องของการรอลงอาญานั้น ประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติไว้ใน มาตรา 56 โดยมีหลักเกณฑ์เบื้องต้นดังนี้ครับ
1.ศาลจะลงโทษจำคุกจำเลยในคดีนั้นไม่เกิน 5 ปี และ
2.ต้องเป็นกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
- จำเลยในคดีไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน
- จำเลยต้องโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นคดีที่กระทำโดยประมาท หรือ เป็นคดีลหุโทษ หรือ ศาลลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 6 เดือน
- จำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นมาแล้วเกินกว่า 5 ปีนับจนถึงวันกระทำความผิดและการกระทำความผิดในครั้งหลังเป็นการกระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
3.และเมื่อศาลพิจารณาจากพฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีและตัวจำเลยแล้วเช่น อายุ อาชีพ ประวัติ ความประพฤติ ฯ ศาลก็จะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่ให้รอการลงโทษหรือรอกำหนดโทษไว้ โดยมีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โดยศาลอาจกำหนดเงื่อนไขบางอย่างไว้ก็ได้เช่น ให้มารายงานตัว ฯ ครับ
นี่ก็เป็นหลักเกณฑ์เบื้องต้นที่ศาลจะใช้พิจารณาพิพากษารอลงอาญาจำเลย หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ ไม่มากก็น้อยครับ สุดท้ายนี้หากเพื่อน ๆ เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์สามารถให้กำลังใจพวกเราได้โดยการ การรีวิว และให้คะแนนความพอใจ ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่ทางแพลตฟอร์มจัดไว้ให้ครับ บ๊าย บาย
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



