เผยแพร่เมื่อ: 2023-12-11

ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญาและสิทธิสำหรับผู้ต้องหา

 

การแจ้งความที่โรงพัก

 

1. แจ้งที่สถานีตำรวจในเขตท้องที่ที่ความผิดนั้นเกิด เว้นมีเหตุจำเป็นอาจแจ้งที่สถานีตำรวจที่อยู่ใกล้

2. ต้องบอกรายละเอียดต่าง ๆ เท่าที่ทราบ เช่น รูปพรรณสัณฐาน คนร้าย เวลา สถานที่ ความเสียหายที่ได้รับ

3. ต้องแจ้งความโดยเร็ว และต้องกระทำภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าเป็นความผิดอันยอมความได้ เช่น การยักยอกทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับเช็ค ต้องแจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำ

4. การแจ้งความเท็จมีโทษตามที่กฎหมายกำหนด

 

บุคคลที่ร้องทุกข์แทนผู้เสียหายได้

 

1. ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลเฉพาะแต่ความผิดที่กระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในการดูแล

ผู้แทนโดยชอบธรรม หมายถึง บิดามารดา

ผู้อนุบาล ก็คือ บุคคลที่เป็นผู้ดูแลผู้ไร้ความสามารถ

ผู้ไร้ความสามารถ คือ บุคคลวิกลจริตที่

ผู้เยาว์ คือ บุคคลอายุยังไม่ครบยี่สิบปีบริบูรณ์

2. ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภรรยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้

3. ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิดซึ่งกระทำลงแต่นิติบุคคลนั้น

4. บุคคลอื่น ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย ให้ไปร้องทุกข์แทนผู้เสียหายได้

หลังจากแจ้งความแล้ว ก่อนจะลงชื่อแจ้งความ เราต้องอ่านข้อความที่ตำรวจจดว่าจดถูกต้องตามที่เราแจ้งความไว้หรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้อง ก็ขอให้แจ้งตำรวจแก้ไขก่อน จึงจะลงชื่อ

 

การดำเนินคดีของผู้เสียหาย

 

1. กรณีฟ้องคดีเอง ควรปรึกษาทนายความ

2. มอบคดีให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการฟ้องคดีแทน โดยต้องมีการร้องทุกข์ โดยการร้องทุกข์นี้ ผู้เสียหายต้องแจ้งความโดยมีเจตนาให้ลงโทษกับผู้กระทำความผิด

 

การเป็นผู้ถูกกล่าวหา

 

1. ถ้ากระทำผิดจริง ควรสารภาพ ให้การที่เป็นประโยชน์กับพนักงานสอบสวน จะได้ลดหย่อนโทษ

2. ถ้าไม่ได้กระทำความผิด ต้องต่อสู้คดีตามความเป็นจริง และรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน

3. ถ้าตำรวจจับเรา เรามีสิทธิจะไม่พูดข้อความใด ๆ ก่อนที่จะปรึกษาผู้รู้กฎหมาย บุคคลที่ไว้วางใจ ทนายความ

 

สิทธิของผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับ

 

1. แจ้งให้ญาติทราบว่าถูกจับอยู่ที่ไหน

2. พบและปรึกษาทนายความ

3. ให้ทนายความหรือบุคคลซึ่งตนไว้วางใจเข้าร่วมฟังการสอบปากคำ

4. ญาติเข้าเยี่ยมได้ตามสมควร

5. ผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับ มีสิทธิจะให้การหรือไม่ก็ได้

6. ได้รับการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย

 

การประกันตัว

 

1. เมื่อถูกจับแล้วผู้ถูกจับมีสิทธิขอประกันตัวได้ ดังนี้

1.1 ไม่ต้องทำสัญญาประกัน ผู้ต้องหาต้องสาบานว่าจะมาตามหมายเรียก

1.2 ต้องมีสัญญาประกัน คือมีข้อผูกมัดว่า ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกเรียกตัวต้องมา ถ้าไม่มาจะเสียค่าปรับ

1.3 มีสัญญาประกันและหลักประกัน คือมีการทำสัญญาประกัน และวางหลักประกัน คือ เงินสด หลักทรัพย์ หรือบุคคลมาค้ำประกัน

2. การพิจารณาว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่ จะดูจากความหนักเบาของข้อหา รูปคดี พฤติกรรมของผู้ต้องหา

 

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE