อยากแต่งตั้งผู้จัดการมรดกต้องจ้างทนายไหม?
เมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย บุคคลสำคัญที่เข้ามามีบทบาทในขั้นตอนต่อไป คือ ผู้จัดการมรดก บุคคลที่ทำหน้าที่จัดการทรัพย์มรดกให้ตกทอดสู่ทายาททุกคนได้อย่างเป็นธรรม ทั้งการแบ่งมรดกแบบไม่มีพินัยกรรมและมีพินัยกรรม แต่หลายคนมีข้อสงสัยว่าแต่งตั้งผู้จัดการมรดกต้องจ้างทนายไหม? สามารถทำเองได้ไหม? Legardy พาไปหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้
แต่งตั้งผู้จัดการมรดกต้องจ้างทนายไหม?
การร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกที่ไม่มีผู้คัดค้าน ไม่จำเป็นต้องมีทนายความดำเนินการให้ก็ได้ ทายาทสามารถติดต่อดำเนินการด้วยตัวเองได้ที่สำนักงานอัยการสูงสุด
ขั้นตอนการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ในการแต่งตัวผู้จัดการมรดกด้วยตัวเอง สามารถดำเนินการได้ ดังนี้
1. รวบรวมทรัพย์มรดก
ต้องดูว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอะไรบ้าง โดยทรัพย์มรดก หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจนสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน บ้าน คอนโด รถยนต์ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ เป็นต้น และทำการรวบรวมทรัพย์มรดกทั้งหมดเพื่อเตรียมจัดการมรดก
2. หารือผู้จัดการมรดก
ขั้นตอนต่อไป หารือในครอบครัวว่าทายาทเจ้ามรดก หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกองมรดกคนไหนจะเป็นผู้จัดการมรดก โดยผู้จัดการมรดกต้องมีคุณสมบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ดังนี้
- ต้องบรรลุนิติภาวะ หรือมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์
- ต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ
- ต้องไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !
3. ยื่นคำร้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
นำเอกสารที่ใช้ยื่นประกอบคำร้อง ไปยื่นที่ศูนย์จัดการมรดก หรือสำนักอัยการจังหวัด ตามภูมิลำเนาของเจ้ามรดกหรือที่ทรัพย์ตั้งอยู่
4. ศาลไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ศาลจะกำหนดวันไต่สวนคำร้อง เพื่อที่จะได้ทราบว่าท่านสมควรจะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ โดยจะใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 45 - 60 วัน
5. แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
เมื่อไต่สวนคำร้องเสร็จแล้ว หากไม่มีผู้ใดคัดค้าน ศาลจะประกาศแต่งตั้งผู้จัดการมรดก แต่ถ้ามีผู้คัดค้านในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก จะต้องไต่สวนต่อไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นเพื่อสู้กันว่าบุคคลใดเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดก หรือศาลสามารถตัดสินให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้ ซึ่งกรณีที่มีการคัดค้าน การมีทนายถือเป็นข้อได้เปรียบ เพราะทนายจะช่วยแก้ต่างในคดีให้กับคุณได้
ผู้มีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องเป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งมีลำดับดังนี้
1. ผู้สืบสันดาน คือ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรของบุตรถัดลงไปเรื่อย ๆ (หลาน เหลน)
2. บิดามารดา
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายและยังมีชีวิตอยู่ก็มีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกได้
จะเห็นได้ว่าการยื่นคำร้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้นสามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าถามว่าแต่งตั้งผู้จัดการมรดกต้องจ้างทนายไหม? หากมีทรัพย์สินจำนวนมาก มีทายาทหลายคน และมีแนวโน้มที่จะเกิดการคัดค้านการแต่งตั้ง แนะนำว่าจ้างทนายมาช่วยดูและการจัดการเอกสารและดำเนินการยื่นคำร้องจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพื่อความได้เปรียบในการสู้คดี และป้องกันความผิดพลาดทางด้านเอกสาร
สำหรับใครที่มองหาทนายคดีครอบครัวเพื่อดำเนินการยื่นคำร้อง หรือต้องการปรึกษาเกี่ยวกับการจัดตั้งผู้จัดการมรดก สามารถค้นหาทนายมืออาชีพได้ที่ Legardy เรารวบรวมทนายกว่า 500 คนทั่วประเทศ ให้คุณสามารถมีทนายส่วนตัวได้ในเวลาไม่กี่นาที พร้อมช่วยหาทางออกทุกปัญหากฎหมายได้อย่างเหมาะสมที่สุด
อ่านคำปรึกษาจริงเรื่อง "ผู้จัดการมรดก" คลิกเลย !
Q: การมอบอำนาจ ของผู้จัดการมรดก
Q: การขอเป็นผู้จัดการมรดก
คำถามที่พบบ่อย
1. แต่งตั้งผู้จัดการมรดกใช้เวลานานไหม?
ประมาณ 45 - 60 วัน
2. ฟ้องเป็นผู้จัดการมรดกต้องไปศาลไหน?
ศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลในขณะถึงแก่ความตาย ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลจังหวัด
3. การขอเป็นผู้จัดการมรดก ทำเองได้ไหม?
สามารถขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ด้วยตนเอง
4. แต่งตั้งผู้จัดการมรดกใช้เอกสารอะไรบ้าง?
เอกสารที่ใช้ประกอบในการยื่นคำร้อง ได้แก่
- ใบมรณบัตร และทะเบียนบ้านของผู้ตาย
- ทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
- ใบมรณบัตรของบิดามารดาของผู้ตาย กรณีบิดามารดาถึงแก่ความตายแล้ว
- ทะเบียนสมรสหรือทะเบียนการหย่าของผู้ตาย
- เอกสารที่เกี่ยวข้อง กรณีทายาทรับมรดกแทนที่ / เจ้ามรดกมีการรับรองบุตร / เจ้ามรดกมีบุตรบุญธรรม
- ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อชื่อสกุลของผู้ตาย ผู้ร้อง ทายาท และผู้มีส่วนได้เสีย ในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
- สูติบัตรของบุตรของผู้ตาย กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ
- พินัยกรรมของผู้ตาย (ถ้ามี)
- หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดกจากทายาท
- แผนผังบัญชีเครือญาติ
- เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน สัญญาจำนอง ทะเบียนรถจักรยานยนต์ ทะเบียนรถยนต์ สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร เป็นต้น
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที