เผยแพร่เมื่อ: 2024-03-06

สุนัขจรจัดสร้างความเดือดร้อน ใครต้องรับผิดชอบ? 

ประเทศไทยขึ้นชื่อเรื่องสุนัขจรจัดและแมวจรจัดที่มีจำนวนมาก ซึ่งหมาจรจัดนั้นอาจสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากสัตว์จรจัด สุนขจรจัดกัดชาวบ้าน แล้วใครจะต้องรับผิดชอบทั้งๆที่สัตว์เหล่านั้นไม่ได้มีเจ้าของ บทความนี้ Legardy จะพาผู้อ่านทุกท่านมารู้จักกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัตว์จรจัดกันให้มากขึ้นครับ


Untitled design (33).png

สุนัขจรจัดคืออะไร?

สุนัขจรจัด หมายถึง สุนัขที่ไม่มีเจ้าของถูกปล่อยปละละเลยไม่มีผู้ดูแล อาจเป็นได้ทั้งสุนัขที่เคยมีเจ้าของมาก่อนแต่ถูกเจ้าของเก่าทอดทิ้ง หรือเป็นสุนัขที่เกิดและเติบโตโดยไม่มีเจ้าของมาตั้งแต่ต้นเลยก็ได้ ซึ่งสุนัขจรจัดนั้นสามารถพบได้ตามที่สาธารณะทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ตลาด ถนน วัด ในประเทศไทยมีหน่วยงานและองค์กรต่างๆทำงานเพื่อช่วยเหลือสุนัขจรจัดเหล่านั้น เช่น การทำหมันเพื่อควบคุมประชากร การหาที่พักพิง การหาบ้านใหม่ให้กับหมาจรจัดเหล่านั้น

ซึ่งคำนิยามนี้สามารถใช้กับสัตว์จรจัดได้ทุกชนิด เช่น แมว ลิง เป็นต้น

 

 


กฎหมายเกี่ยวกับสุนัขจรจัด

1.กรณีให้อาหารหมาจรจัดหรือแมวจรจัดเป็นประจำจะถือว่าเป็นเจ้าของสัตว์ตัวนั้นไหม?

 • หากอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร

เดิมทีนั้นเขตกรุงเทพมหานคร เคยกำหนดให้คนที่ให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำถือว่าเป็นเจ้าของสุนัขตัวนั้นด้วย แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับสุนัขจรจัดขึ้น ศาลปกครองพิจารณาแล้วเห็นว่า กทม. ไม่ควรให้คนที่แค่ให้อาหารสุนัขจรจัดต้องรับผิดชอบเหมือนเป็นเจ้าของสุนัขตัวนั้น เพราะว่าอาจทำให้คนเหล่านี้เดือดร้อนโดยไม่รู้ตัว เช่น ต้องพาสุนัขไปฝังไมโครชิพ ทั้งที่จริงๆ แล้ว กทม. มีหน้าที่ดูแลสุนัขจรจัดเอง ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2556 เป็นต้นมา คนที่ให้อาหารสุนัขจรจัดในกรุงเทพฯ จะไม่ถือว่าเป็นเจ้าของสุนัขอีกต่อไป

หากอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพ การให้อาหารสุนัขจรจัดจะไม่ถือว่าผู้ให้อาหารเป็นเจ้าของครับ

 • หากอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดอื่นๆ

สำหรับจังหวัดอื่นๆ การตีความว่าผู้ให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำถือเป็น "เจ้าของสุนัข" หรือไม่ อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อบัญญัติท้องถิ่นของแต่ละจังหวัด และดุลยพินิจของศาลในแต่ละกรณี โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาคร่าวๆดังนี้

  1. ความสม่ำเสมอในการให้อาหาร หากผู้ใจบุญคนนั้นให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำ ศาลท่านอาจพิจรณาว่าเป็นเจ้าของสุนัขจรจัดตัวนั้นได้
  2. หากมีการดูแลอื่นๆนอกเหนือจากการให้อาหาร เช่น พาไปหาหมอ อาบน้ำให้ เป็นต้น อาจมีน้ำหนักในการที่ศาลจะพิจารณาว่าผู้ใจบุญคนนั้นเป็นเจ้าของสุนัข
  3. พยานบุคคลที่เห็นพฤติกรรมต่างๆ พยานบุคคลก็ถือว่ามีน้ำหนักเช่นกัน หากการที่พยานบุคคลนั้นได้บอกว่า ผู้ใจบุญคนนั้นมาให้อาหารสุนัขตัวนี้เป็นประจำ “อย่างต่อเนื่อง” จะถือว่าผู้ใจบุญคนนั้นเป็นเจ้าของสุนัข

2.ให้อาหารสุนัขจรจัดผิดกฎหมายไหม ?

ตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535

มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งสิ่งปฏิกูล มูลฝอย น้ำโสโครก หรือสิ่งอื่นใดลงบนถนน ที่สาธารณะ หรือสาธารณสถาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

การให้อาหารสุนัขจรจัดในที่สาธารณะนั้นอาจเข้าข่ายการทิ้ง “สิ่งอื่นใด” ลงบนที่สาธารณะเพราะว่าอาจมีเศษอาหารที่สุนัขไม่กินหรือถ้วยชามที่ใช้ใส่อาหาร

พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535

มาตรา 25 ห้ามกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เพราะว่าการให้อาหารสุนัขจรจัดนั้นอาจทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้อื่นได้ และเศษอาหารที่เหลืออาจทำให้ หนู แลงสาบหรือสัตว์อื่นๆเข้ามารบกวนผู้อยู่อาศัยระแวกนั้นได้

ข้อกฎหมายคุ้มครองสัตว์และความรับผิดที่คุณต้องรู้ คลิกเลยเพื่ออ่าน !


สุนัขจรจัด หน่วยงานใด รับผิดชอบ

1.องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล หรือ อบต. 

มีหน้าที่หลักในการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดในพื้นที่ของตน ซึ่งรวมถึงการจับสุนัขจรจัด การทำหมัน การจัดหาที่พักพิง และการส่งเสริมการรับเลี้ยงเพื่อหาเจ้าของใหม่ให้สุนัขจรจัดเหล่านั้น

  • นายกเทศมนตรีในเขตเทศบาลต่างๆ มีอำนาจหน้าที่ในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น กำหนดนโยบาย และสั่งการให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมสุนัขจรจัด เช่น การจับสุนัข การทำหมัน และการจัดหาที่พักพิง เป็นต้น
  • ประธานกรรมการสุขาภิบาล มีอำนาจหน้าที่คล้ายกับนายกเทศมนตรี ในการดูแลและควบคุมสุนัขจรจัดในเขตสุขาภิบาล
  • ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการดำเนินงานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล รวมถึงการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด
  • ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมถึงการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดในเขตกรุงเทพมหานคร
  •  ปลัดเมืองพัทยา มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการเมืองพัทยา ซึ่งรวมถึงการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดในเขตเมืองพัทยา
  • หัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองท้องถิ่นนั้นๆ มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

2.กรมปศุสัตว์

รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมประชากรสุนัขและโรคพิษสุนัขบ้าที่อาจเกิดจากสุนัขจรจัดเหล่านั้น รวมถึงการสนับสนุนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

3.กระทรวงมหาดไทย 

กำกับดูแลการทำงานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด และประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

แล้วถ้าแค่ให้อาหารสัตว์เฉยๆ นานๆครั้งให้ที จะมีความผิดทางกฎหมายไหม บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย !


Untitled design (35).png

ปัญหาสุนัขจรจัด

จากข้อมูลของผู้จัดการ เปิดเผยข้อมูลว่า จากข้อมูลปี59 1,232,588 ตัว ตัวในประเทศไทย โดยพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีจำนวนสุนัขจดจัดมากที่สุด และกรมปศุสัตว์คาดการณ์ว่าอีก 20ปีข้างหน้า จำนวนสัตว์จรจัดนั้นอาจเพิ่มขึ้นเป็น 5ล้านตัว ซึ่งสัตว์จรจัดเหล่านั้นอาจสร้างปัญหาได้มาก ปัญหาที่เกิดจากสัตว์จรจัดมีหลายด้าน ดังนี้

1.ปัญหาด้านสาธารณสุข

  • อาจเกิดการแพร่กระจายโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งโรคพิษสุนัขบ้านั้นสามารถติดต่อสู่คนได้ ผ่านทางแผลต่างๆ
  • การขับถ่ายของสุนัขจรจัด สุนัขจรจัดที่ขับถ่ายในที่สาธารณะอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและสร้างความสกปรกได้
  • สุนัขจรจัดอาจกัดหรือทำร้ายคนได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิต

2.ปัญหาด้านความปลอดภัย

  • สุนัขจรจัดเหล่านั้นอาจสร้างความรำคาญ ทั้งกลิ่นและเสียงเห่าหอนให้แก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในระแวกนั้นได้
  • สุนัขจรจัดเหล่านั้นอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวซึ่งอาจคุกคามผู้คนและสัตว์เลี้ยงอื่นๆได้
  • สุนัขจรจัดเหล่านั้น อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่นการวิ่งตัดหน้ารถ เป็นต้น

3.ปัญหาต่อตัวสุนัขเอง

  • สุนัขจรจัดนั้นต้องอดทนกับความลำบากและอดอยาก ขาดอาหารและน้ำ ขาดการดูแลสุขภาพต่างๆ
  • สุนัขจรจัด มีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วยและมีโรคมากกว่าสุนัขที่มีเจ้าของเพราะว่าขาดการฉีดวัคซีน เป็นต้น
  • สุนัขจรจัด มีความเสี่ยงที่จะถูกทำร้ายจากบุคคลที่ไม่ชอบหรือการทารุณกรรมสัตว์

แล้วถ้าโดนหมากัด ใครจะต้องรับผิดชอบ หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย !


วิธีไล่สุนัขจรจัด

ทาง Legardy ขอแนะนำไม่ให้ใช้ความรุนแรงต่อสัตว์จรจัดนะครับ เพราะทุกสิ่งมีชีวิตก็รักชีวิตของตัวเอง อยากให้ใช้สันติวิธี ดังนี้

  • การฉีดน้ำ เพียงแค่ฉีดใส่สุนัขจดจัดเหล่านั้นเบาๆ มันก็วิ่งหนีแล้วครับ ห้ามใช้น้ำร้อนนะครับ แค่น้ำปกติก็พอแล้ว
  • ใช้เสียง ใช้เสียงดังๆ ตะโกนไล่เพื่อให้เกิดเสียงดัง สุนัขก็จะกลัวแล้ววิ่งหนี
  • การใช้สเปรย์ไล่สุนัข จะมีบางสเปรย์มีกลิ่นที่สุนัขไม่ชอบ เพียงแค่ฉีดบริเวณที่อยู่อาศัย สุนัขดมได้กลิ่นที่ไม่ชอบก็จะหนีไปครับ
  • การทิ้งอาหารให้เป็นที่ เก็บอาหารหรือเศษขยะให้มิดชิด ใช้ถังขยะแบบมีฝาปิดและหาอะไรหนักๆทับไว้เพื่อป้องกันไม่ให้สุนัขมาคุ้ยหาเศษอาหารกิน
  • แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะแต่ละหน่วยงานมีมาตรการการรับมือสุนัขจรจัดอยู่แล้ว เราสามารถแจ้งหน่วยงาน เพื่อให้เข้ามาจัดการได้ครับ

คำพิพากษาที่เกี่ยวกับสุนัขจรจัด

คำพิพากษาฎีกาที่ 1639/2565

จำเลยถูกฟ้องร้องในข้อหาปล่อยปละละเลยสุนัขจรจัดที่ตนให้อาหารเป็นประจำ จนเป็นเหตุให้เด็กถูกกัดเสียชีวิต ศาลชั้นต้นตัดสินว่าจำเลยมีความผิด แต่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการให้อาหารสุนัขจรจัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ถือเป็นการเลี้ยงดูและมีความรับผิดชอบต่อสุนัขนั้น จำเลยจึงมีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 และปล่อยปละละเลยสัตว์ดุร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 377 อีกทั้งจำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่แม่ของเด็กที่เสียชีวิต ทั้งค่าปลงศพและค่าขาดไร้อุปการะ

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีที่ อ.1751/2559 

เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือกรมปศุสัตว์ ที่จะต้องรับผิดชอบในการจัดการดูแลสุนัขจรจัด ซึ่งสุนัขเป็นสัตว์ควบคุมตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้าพ.ศ. 2535 เมื่อสุนัขจรจัดไปทำลายทรัพย์สิน หรือรุมกัดผู้อื่นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น องค์การบริหารส่วนตำบล หรือกรมปศุสัตว์จึงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ตามมาตรา 67 และ มาตรา 68 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ให้ราชการผู้ถูกฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับเอกชนผู้ฟ้องคดีนั้น

Untitled design (36).png


สรุป

สุนัขจรจัดนั้นอาจสร้างปัญหามากมายให้แก่บุคคลที่อยู่อาศัย และสัตว์จรจัดนั้นมีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบ หากการที่ไม่ชอบสัตว์จรจัดเหล่านั้น อยากให้ใช้สันติวิธีในการขับไล่ และหลีกเลี่ยงความรุนแรงครับ เพราะทุกสิ่งมีชีวิตย่อมรักชีวิตตัวเองเสมอ

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE