เซ็นชื่อแทนกันมีความผิดฐานปลอมเอกสารหรือไม่
โดยปกติแล้ว ในกรณีที่เราไม่สามารถไปทำการใด ๆ ด้วยตนเอง สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้ ซึ่งตามกฎหมายเรียกว่า “การมอบอำนาจ”
แต่ไม่มีกฎหมายกำหนดให้เซ็นชื่อแทนกันได้ แล้วถ้าสมมติว่ามีการเซ็นชื่อแทนกันล่ะ จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่ เดี๋ยววันนี้เรามาดูกันครับ
ความหมายของ "การปลอมแปลงเอกสาร"
การปลอมเอกสารนั้น นอกจากหมายถึงการปลอมเอกสารขึ้นทั้งฉบับหรือบางส่วนแล้ว ยังรวมไปถึงการเซ็นชื่อแทนผู้อื่นด้วย ดังนั้น
การเซ็นชื่อแทนผู้อื่นก็อาจเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารได้เช่นกัน แต่ความผิดฐานปลอมเอกสารนั้น จะต้องเป็นการปลอมในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายด้วย
ซึ่งหากเป็นกรณีที่ยินยอมให้เซ็นชื่อแทน แม้จะเข้าข่ายเป็นการปลอมเอกสาร แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผู้หนึ่งผู้ใดเสียหาย ผู้ที่ลงชื่อแทนจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารแต่อย่างใดครับ
'แล้วถ้าเป็นการปลอมเอกสาร โทษจะร้ายแรงขนาดไหน? หาคำตอบได้ที่นี่! คลิกเลย!'
ตัวอย่างเหตุการณ์ดังกล่าวในชีวิตจริง
ซึ่งเรื่องนี้ มีตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา เคยตัดสินไว้ว่า “ลายมือชื่อนั้นไม่มีกฎหมายให้เซ็นแทนกันได้ แม้จะมอบอำนาจก็เซ็นแทนไม่ได้ จำเลยเซ็นชื่อสามีจำเลยลงในสัญญามัดจำซื้อขายที่ดินจึงเป็นการลงลายมือชื่อปลอม
แต่ความผิดฐานปลอมเอกสารนั้นจะต้องมีลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนด้วย เมื่อผู้เสียหายรู้จักชื่อและตัวสามีจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินตลอดจนจำเลยซึ่งเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้ว
ยังได้สมัครใจเข้าทำสัญญากับจำเลยและรู้เห็นว่าจำเลยได้ลงชื่อสามีจำเลยในช่องผู้ให้สัญญาตอนทำสัญญานั้น จากพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้เสียหายมิได้หลงผิดหรือหลงเชื่อ
จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะอ้างว่าได้รับความเสียหายตามกฎหมายสามีจำเลยก็ไม่เสียหายเพราะเป็นผู้มอบอำนาจให้จำเลยไว้ จำเลยจึงไม่มีความผิด” (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2517)
'ปลอมลายเซ็นแม้เจ้าของยินยอมก็ผิดกฎหมาย! คลิกเพื่ออ่านบทความ'
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



