เผยแพร่เมื่อ: 2023-10-11

สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร

 

โดยปกติแล้วหากผู้เยาว์ (ผู้ที่มีอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์) จะทำสัญญาอะไรก็แล้วแต่ จะต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (พ่อแม่) ก่อน มิฉะนั้น สัญญาดังกล่าวอาจตกเป็นโมฆียะได้ กล่าวคือ พ่อแม่สามามารถบอกล้างสัญญาที่ผู้เยาว์ทำได้ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมาย นอกเสียจากว่าสัญญาที่ผู้เยาว์ทำนั้นจะเข้าข้อยกเว้นของกฎหมายที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เองโดยลำพัง โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากพ่อแม่ก่อน อย่างไรก็ดี หากเป็นกรณีที่ผู้เยาว์ต้องการขายที่ดินของตนเอง โดยได้ขอความยินยอมจากพ่อแม่แล้ว และพ่อแม่ก็อนุญาตให้ขายที่ดินดังกล่าวได้ มีประเด็นที่น่าสงสัยว่า 

'ทำไมการทำสัญญา ต้องทำเป็นหนังสือ? มีความสำคัญอย่างไร อ่านบทความได้ที่นี่ คลิก!'

 

กฎหมายเกี่ยวกับการทำนิติกรรม

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 (1) วางหลักไว้ว่า

 “นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต (1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้”

ดังนั้น เมื่อพิจารณาตามกฎหมายดังกล่าว พ่อแม่จึงไม่สามารถขายที่ดินของบุตรผู้เยาว์ได้เองโดยลำพัง โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเท่านั้น พูดง่าย ๆ คือ หากพ่อแม่จะขายที่ดินของลูก ก็ต้องไปขอศาลก่อนเท่านั้น ซึ่งศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ โดยศาลจะใช้ดุลพินิจพิจารณาเป็นรายกรณีไป

'นิติกรรมคืออะไร หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย!'

 

 

นอกจากเรื่องขายที่ดินแล้ว 

ยังมีนิติกรรมสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์อื่น ๆ อีกรวม 13 ประการ ที่พ่อแม่จะต้องขอศาลก่อนทำสัญญา ดังนี้

 

'คลิกที่นี่ เพื่ออ่านบทความเรื่องการจัดการทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์ ทำอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย'

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต

(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้

(2) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

(3) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์

(4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มา ซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจาก ทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น

(5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี

(6) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3)

(7) ให้กู้ยืมเงิน

(8) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อ การกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์

(9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่ รับการให้โดยเสน่หา

(10) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับ ชำระหนี้ หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น

(11) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ (3)

(12) ประนีประนอมยอมความ

(13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

 

'กำลังหนักใจเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกอยู่ใช่ไหม? ทนายจากLegardyมีทางออกให้คุณ เริ่มปรึกษาเลย คลิก!'

 

ดังนั้น เมื่อพ่อแม่จะทำสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของบุตร จะต้องพิจารณาด้วยว่าเป็นนิติกรรมตามมาตรา 1574 หรือไม่ หากใช่ก็จะต้องขอศาลก่อนทำสัญญาด้วย ไม่เช่นนั้นสัญญาดังกล่าวก็จะไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายครับ

 

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE