รู้ทันมิจฉาชีพ! วิธีตรวจสอบรายชื่อห้ามโอนเงิน และวิธีแก้ไขหากโดนโกง
เมื่อเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้า การทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์จึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และหลายครั้งก็เป็นธุรกรรมที่มีมูลค่าทางการเงินสูงมาก เกิดเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพเข้ามาใช้เป็นโอกาสหลอกลวงเหยื่อจนต้องเสียเงินทองเป็นจำนวนมากได้ และกลโกงของมิจฉาชีพ(คลิกเพื่ออ่าน 10กลโกงของมิจฉาชีพ) ยังเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปแทบทุกวัน ทำให้ยากต่อการป้องกันตัวจากมิจฉาชีพ แต่รู้หรือไม่ว่าการป้องกันกลโกงจากมิจฉาชีพนั้นมีวิธีการง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้ นั่นก็คือการตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพก่อนที่จะโอนเงินไปให้นั่นเอง
คลิกที่นี่เพื่ออ่าน 60 คำปรึกษาจริงเรื่องมิจฉาชีพและการถูกโกงออนไลน์
Q: หลอกว่าเป็นตำรวจไซเบอร์ และถูกหลอกให้โอนเงินไป10,000
Q: มิจฉาชีพออนไลน์ขู่จะฟ้อง ประจาน ส่งหมายศาล
ตรวจสอบ รายชื่อ ห้ามโอนเงินที่ไหนได้บ้าง
ในปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพ และมีขั้นตอนการตรวจสอบ ดังนี้
- Blacklistseller.com เป็นเว็บไซต์ให้บริการตรวจสอบรายชื่อคนโกง สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลสามารถเข้าไปดูได้เลย โดยไม่ต้องสมัครสมาชิก แต่ในกรณีที่อยากแจ้งรายชื่อคนโกงก็ต้อง Log In เพื่อเริ่มการใช้งานเสียก่อน ขั้นตอนการตรวจสอบเช็กรายชื่อคนโกงง่ายมากเพียงแค่กรอกข้อมูลที่ต้องการตรวจสอบ ได้แก่ เลขบัญชี ชื่อ หรือ นามสกุล หากเป็นบัญชีของมิจฉาชีพก็จะมีรายละเอียดกลโกงของคน ๆ นั้น และแพลตฟอร์มที่มิจฉาชีพดังกล่าวใช้ขึ้นมา แต่หากบัญชีนั้นยังไม่เคยต้องคดี ก็จะไม่มีชื่อปรากฏอยู่บนเว็บ
- Whoscheat.com อีกเว็บไซต์ที่สามารถใช้ตรวจสอบรายชื่อ ห้ามโอนเงินได้ โดยกรอกข้อมูลของเลขบัญชีธนาคาร เบอร์โทร เลขบัตรประจำตัวประชาชน และชื่อนามสกุล ลงในแบบฟอร์มของเว็บไซต์ หากไม่พบชื่อของมิจฉาชีพ ก็แสดงว่าเป็นบัญชีที่ไม่เคยต้องคดีมาก่อน
อย่างไรก็ดีในปัจจุบันทั้ง 2 เว็บไซต์นี้ยังให้บริการตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพเฉพาะบัญชีคนไทยเท่านั้น ไม่สามารถตรวจสอบบัญชีต่างประเทศได้ จึงควรพิจารณารายละเอียดอื่น ๆ ประกอบการตัดสินใจด้วย
ในกรณีที่ไม่ได้ตรวจรายชื่อ ห้ามโอนเงินและเสียรู้มิจฉาชีพต้องทำอย่างไร
เมื่อเสียรู้ และตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์แล้ว ขั้นแรกผู้เสียหายจะต้องรีบตั้งสติ และรีบรวบรวมหลักฐานเท่าที่มีให้ได้มากที่สุด เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถติดตามมิจฉาชีพ และเพิ่มโอกาสให้ได้เงินคืนเร็วที่สุด และแนะนำให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
- รีบติดต่อกับสถาบันการเงินต้นทาง การติดต่อธนาคารที่ใช้โอนเงินไปให้ในทันทีที่เสียรู้มิจฉาชีพ ควรทำทันทีเพื่อเพิ่มโอกาสในการระงับการโอนเงินและถอนเงิน แต่หากไม่สามารถระงับการโอนเงินได้ ให้รีบรวบรวมหลักฐานไปแจ้งความกับตำรวจ เพื่อลงบันทึกประจำวันในพื้นที่ที่เกิดเหตุ เพื่อใช้เป็นหลักฐานระงับการถอนเงินออกจากบัญชีที่โอนให้ไป
'คลิกที่นี่ เพื่ออ่านบทความทำไมไปแจ้งความแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ดำเนินการให้ ?'
- แจ้งความกับตำรวจ เมื่อรวบรวมหลักฐานและข้อความทุกอย่างที่แสดงถึงการกระทำของมิจฉาชีพ โดยให้เข้าแจ้งความดำเนินคดีในท้องที่ที่เกิดเหตุ แนะนำรายการเอกสารที่ควรเตรียมก่อนแจ้งความ ดังนี้
- แคปหน้าจอหลักฐานที่แสดงถึงการพูดคุยกับมิจฉาชีพ หรือหลักฐานการคุยสายโทรศัพท์ที่มีเบอร์ของมิจฉาชีพ พร้อมเขียนบรรยายเหตุการณ์ที่ถูกหลอก
- เลขบัญชี เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลของมิจฉาชีพที่รู้ทั้งหมด รวมทั้งเอกสารที่แสดงถึงเงินเข้าออก
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคารที่ถูกหลอกให้โอนออก
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้เสียรู้มิจฉาชีพ
'คลิกที่นี่ เพื่ออ่านบทความ ทำอย่างไรเมื่อถูกฉ้อโกง'
- ติดต่อสถาบันการเงินปลายทาง นำใบแจ้งความไปติดต่อกับสถาบันการเงินปลายทาง เพื่อยื่นเรื่องให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและสั่งอายัดบัญชีของมิจฉาชีพ โดยมากผู้เสียหายจะได้เงินคืนก็ต่อเมื่อสถาบันการเงินตรวจสอบข้อเท็จจริงเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ดี ในบางกรณีกระบวนการต่าง ๆ ที่กล่าวไปข้างต้นก็ต้องใช้เวลาในการดำเนินการค่อนข้างนาน ทำให้โอกาสได้เงินคืนล่าช้า หรือยากมากขึ้นได้ การตรวจสอบรายชื่อ ห้ามโอนเงินก่อนโอนเงินให้คนที่ไม่รู้จักจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ
รู้ทันรูปแบบกลโกงที่มิจฉาชีพมักนำมาใช้
- การว่าจ้างให้เปิดบัญชี แม้ว่าจะดูเป็นวิธีการหาเงินที่ง่าย และไม่ยุ่งยาก แต่หากถูกนำไปทำธุรกรรมหลอกลวง ก็มีโอกาสจะถูกดำเนินคดีได้ เรียกว่าเงินที่ได้จากการว่าจ้างนั้นไม่คุ้มค่ากับการดำเนินคดีเลย ทั้งยังทำให้ชื่อของคุณอยู่ในรายชื่อ ห้ามโอนเงินได้ ส่งผลให้ยากต่อการทำธุรกรรมทางการเงินในอนาคต
'บัญชีม้าคืออะไร และมีโทษอะไรบ้าง'
- โรแมนซ์สแกม (Romance Scam) เป็นรูปแบบการหลอกให้รัก หลอกให้โอนเงินไปให้ โดยอ้างเหตุผลความเดือดร้อน หรือความจำเป็นต่าง ๆ สามารถพบได้บ่อยทั้งในกรณีชาวต่างชาติ หรือชาวไทย
- โฆษณาว่าจะปล่อยเงินกู้นอกระบบ โดยขอหลักฐานส่วนตัวของเรา อ้างว่าต้องใช้นำไปเปิดบัญชี หรือหลอกให้โอนเงินเป็นค่ามัดจำ ค่าดอกเบี้ย และค่าดำเนินการก่อน จึงจะสามารถกู้ยืมเงินได้
- การแอบอ้างเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือเพื่อหลอกให้โอนเงินให้ เช่น หน่วยงานราชการ หรือตำรวจ เป็นต้น
- การหลอกลวงว่าคนที่รู้จัก หรือคนในครอบครัวกำลังเดือดร้อน และขอให้รีบโอนเงินไปช่วยเหลือ บางกรณีอาจมีการแฮ๊กซ์ข้อมูลของเพื่อนหรือคนรู้จัก แล้วทำที่มาขอยืมเงินได้
แนะนำสายด่วนที่คอยให้ความช่วยเหลือจากมิจฉาชีพที่หลอกให้โอนเงิน
- ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน 1213 เป็นสายด่วนสำหรับให้คำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับบริการทางการเงิน
- กองบังคับการปราบปรามกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือที่เรียกกันว่าสายด่วนตำรวจไซเบอร์ 1441 หรือ 08-1866-3000 (24 ชั่วโมง)
การถูกหลอกให้โอนเงินในปัจจุบัน มิจฉาชีพนั้นก็มีกลลวงสารพัดวิธี ซึ่งอาจไม่ได้มาในรูปแบบของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เพียงอย่างเดียว มิจฉาชีพอาจใช้มุกทวงหนี้ ทวงภาษี ทวงค่าพัสดุ หลอกให้หลงรัก หลอกให้โอนโดยอ้างว่าเป็นคนรู้จัก ซึ่งเมื่อเหยื่อหลงเชื่อ และโอนเงินไปแล้ว ก็จะส่งผลให้ต้องเสียเวลาติดตามและดำเนินคดี ดังนั้นการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับมิจฉาชีพให้ดี ก็จะช่วยให้เราสามารถป้องกันตัวเองได้ หรือหากใครยังไม่ทราบแนวทางการป้องกันกลโกงเหล่านี้ก็สามารถขอคำปรึกษากับ Legardy ทนายความออนไลน์ ที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
แหล่งที่มา
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



