
เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันไหมครับว่า ถ้าไม่มีคนไปร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำความผิดหรือไม่
ต้องมีการร้องทุกข์ในทุกคดีไหม ในบทความนี้ผมจะมาเล่าให้เพื่อน ๆ ที่สงสัยฟังกันครับ
'กำลังมีปัญหาทุกข์ใจอยู่ใช่ไหม? ทนายความที่Legardy พร้อมหาทางออกและช่วยเหลือคุณ ปรึกษาเลย คลิก!'
ถ้าไม่มีคนไปร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำความผิดหรือไม่
ในเรื่องนี้ผมต้องขอท้าวความไปถึงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 ที่วางหลักไว้ว่า
"พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ"
'รอลงอาญาคืออะไร? ทำไมต้องรอลงอาญา? บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย!'
จากมาตรานี้เราสามารถแบ่งหลักเกณฑ์ได้ 2 อย่างคือ
1.พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญา "ทุกคดี" โดยไม่สนใจว่าจะมีการร้องทุกข์จากผู้เสียหายหรือไม่ก็ตาม
2.แต่ในคดีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจสอบสวนได้ต่อเมื่อ ผู้เสียหายร้องทุกต่อพนักงานสอบสวนแล้วเท่านั้น
'ไขข้อสงสัย คดีแพ่งกับคดีอาญา แตกต่างกันอย่างไร?'
สรุปคือพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาที่เป็นอาญาแผ่นดินได้ทุกคดีครับ แต่หากเป็นคดีที่เป็นความผิดต่อสวนตัวผู้เสียหายต้องร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนก่อนพนักงานสอบสวนจึงจะมีอำนาจสอบสวนคดีนั้นได้
ในส่วนของปัญหาที่ว่าคดีใดเป็น "อาญาแผ่นดิน" หรือ "คดีความผิดต่อส่วนตัว" ให้สังเกตุง่าย ๆ ว่าคดีที่กฎหมายบอกว่าให้สามารถยอมความกันได้จะเป็นคดีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว นอกเหนือจากนั้นเป็นคดีที่เป็นอาญาแผ่นดินทั้งหมดครับ
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



