
มรรยาททนายความข้อกำหนดที่ทนายความทุกคนต้องยึดถือ
ทนายความเป็นวิชาชีพที่ต้องอำนวยความยุติธรรมให้เกิดแก่สังคม เป็นอาชีพที่ต้องพบเจอกับความไม่เป็นธรรมของสังคมอยู่บ่อยครั้ง และต้องยึดถือหลักการทางกฎหมายเพื่อดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมมากกว่าอาชีพอื่น เมื่อเป็นแบบนี้แล้วสภาทนายความซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลทนายความ จึงต้องกำหนดให้ผู้ที่จะเป็นทนายความทุกคนต้องมีใบประกอบวิชาชีพ อีกทั้งมีการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ในการเป็นทนายความพร้อมทั้งบทลงโทษเอาไว้ซึ่งเรียกว่า “มรรยาททนายความ” ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ทนายความก่อให้เกิดความเสียหายแก่สังคมเป็นวงกว้างในบทความนี้จึงอยากจะหยิบยกเรื่องราวเกี่ยวกับมรรยาททนายความ ที่ทนายความทุกคนจำเป็นที่จะต้องยึดถือมาให้ได้อ่านกันครับ
มรรยาททนายความคืออะไร
มรรยาททนายความ หมายถึง ระเบียบข้อบังคับที่ทนายความจำเป็นต้องปฎิบัติตาม ซึ่งถูกบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติทนายความ - พ.ศ. 2528 มาตรา 51 ซึ่งหากผู้เป็นทนายความคนใดไม่ปฎิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความแล้ว ย่อมถูกดำเนินคดีมรรยาททนายความและมีโทษตามที่ พระราชบัญญัติทนายความ - พ.ศ. 2528 กำหนด
มรรยาททนายความมีอะไรบ้าง
ข้อบังคับเกี่ยวกับมรรมาททนายความนั้นบัญญัติไว้ใน “ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529” มีอยู่ด้วยกันหลายหมวดแตกต่างกันออกไปได้แก่
1.มรรมาทต่อศาลและในศาล
มรรยาทต่อศาลและในศาลที่ทนายความจะต้องปฏิบัติตาม ได้แก่ ต้องไม่ปฎิเสธไม่รับเป็นทนายความขอแรงในคดีอาญาเมื่อศาลร้องขอ ต้องเคารพยำเกรงศาลหรือไม่ดูหมิ่นศาล ไม่กล่าวหรือทำเอกสารเท็จหรือเสี้ยมสอนให้พยานเบิกความเท็จ ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ ข้อ 5,6,7 และ 8
2.มรรยาทต่อตัวความ
มรรยาทต่อตัวความที่ทนายความจะต้องปฏิบัติตาม ได้แก่ ไม่ยุยงให้ฟ้องร้องดำเนินคดีที่ไม่มีมูลความจริง ไม่จูงใจให้ตัวความฟ้องร้องดำเนินคดีโดยการหลอกลวงว่าจะชนะคดีทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าแพ้ ไม่อวดอ้างว่าตนมีความรู้มากกว่าทนายความคนอื่น ไม่เปิดเผยความลับของลูกความเว้นแต่จะได้รับอนุญาต ไม่นำความลับของลูกความไปหาประโยชน์ ไม่จงใจขาดนัดศาล ไม่กระทำการใดอันเป็นการฉ้อโกง ยักยอก หรือตระบัดสินลูกความ ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วมรรยาททนายความ ข้อ 9 – 15
3.มรรยาทต่อทนายความด้วยกันและประชาชน
มรรยาทต่อทนายความด้วยกันและประชาชนที่ทนายความจะต้องปฏิบัติตาม ได้แก่ ไม่ว่าต่างหรือแก้ต่างในคดีที่มีทนายความท่านอื่นดำเนินคดีอยู่แล้ว ไม่โฆษณาอวดอ้างตนเองเกินความเป็นจริง ไม่ประกอบอาชีพหรือมีความประพฤติที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ ข้อ 16 – 19
4.มรรยาทในการแต่งกาย
ในระหว่างว่าความทนายความต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามที่ข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ ข้อ 20 กำหนด ได้แก่
4.1 ทนายความชายแต่งแบบสากลนิยม เป็นชุดขาวหรือสีอื่นที่ไม่ฉูดฉาด เชิ้ตสีขาว ผ้าผูกคอสีดำหรือสี อื่นที่สุภาพแบบเงื่อนกะลาสี หรือแต่งชุดไทยแบบแขนสั้นหรือแขนยาว สีสุภาพไม่มีลวดลายแทนเสื้อชุดสากลก็ ได้ รองเท้าหุ่มส้นสีขาว น้ำตาลหรือดำ ถุงเท้าสีคล้ายคลึงกับรองเท้า
4.2 ทนายความหญิง แต่ตามแบบสากล กางเกงหรือกระโปรงสีสุภาพไม่ฉูดฉาด รองเท้าหุ่มส้น
4.3 ในขณะว่าความ ทนายความที่มีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิต ต้องสวมเสื้อคลุยนั้นด้วย
ไปศาลควรแต่งตัวแบบไหน? หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย !
5.มรรยาทในการปฏิบัติตามคำสั่งตามกฎหมายและข้อบังคับ
มรรยาทในการปฏิบัติตามคำสั่งตามกฎหมายและข้อบังคับที่ทนายความจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง ทนายความต้องปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายที่ออกโดย สภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ คณะกรรมการสภาทนายความ คณะกรรมการมรรยาททนายความ ตามอำนาจหน้าที่ซึ่งบุคคลเหล่านั้นมีอยู่ตามกฎหมาย เช่น เมื่อคณะกรรมการสภาทนายความออกคำสั่งโดยใช้อำนาจตาม พระราชบัญญัติทนายความ - พ.ศ. 2528 ออกคำสั่งให้ทนายความงดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ทนายความก็ต้องปฏิบัติตามแม้การสั่งห้ามนั้นไม่ได้มีกำหนดไว้ในข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความก็ตาม
โทษของการประพฤติผิดมรรยาททนายความมีอะไรบ้าง
โทษของการฝ่าฝืนข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความนั้นได้กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติทนายความ - พ.ศ. 2528 มาตรา 51 มีด้วยกัน 3 สถานข้ออยู่กับความร้ายแรงของแต่ละกรณีแตกต่างกันออกไปได้แก่
1.ภาคทัณฑ์
ตัวอย่าง เช่น ทนายความเขียนข้อความเพิ่มเติมลงในเอกสารซึ่งเป็นพยานหลักฐานเพื่อหวังจะชนะคดี เป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงศาล ทำเอกสารอันเป็นเท็จ อันเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ ตามข้อบังัคบ ข้อ 6 และ 7 คณะกรรมการมรรยาททนายความลงโทษภาคทัณฑ์
2.ห้ามทำการเป็นทนายความมีกำหนดไม่เกิน 3 ปี
ตัวอย่าง เช่น ทนายความเรียกรับเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแต่กลับไม่ได้ดำเนินการใดๆ ถือเป็นการยักยอก ฉ้อโกง ตระบัดสินลูกความ กระทำการเป็นที่เสื่มเสียต่อศักดิ์ศรีการเป็นทนายความ เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ ตามข้อบังคับ ข้อ 10,15 และ 18 ลงโทษห้ามกระทำการเป็นทนายความมีกำหนด 3 ปี
3.ลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ
ตัวอย่าง เช่น ทนายความเรียกรับเงินเพื่อวิ่งเต้น อ้างว่ารู้จักผู้พิพากษาและวิ่งเต้นสำเร็จมาแล้วหลายคดี ลูกความจึงขอเงินคืนแต่ไม่คืน เป็นการอวดอ้างว่ารู้จัดกับผู้ที่สามารถช่วยเหลือทางคดีให้ลูกความได้รับผลพิเศษทางคดี และเป็นการยักยอก ฉ้อโกง ตระบัดสินลูกความ เป็นที่เสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีการเป็นทนายความ เป็นกระประพฤติผิดมรรยาททนายความ ตามข้อบังคับข้อ 14,15 และ 18 ลงโทษลบชื่อออกจากเป็นทนายความ
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !
การดำเนินคดีมรรยาททนายความต้องทำอย่างไร
การดำเนินคดีกับทนายความที่ประพฤติผิดมรรยาททนายความนั้น ผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของทนายความที่เข้าข่ายผิดข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ สามารถรวบความพยานหลักฐานยื่นคำกล่าวหาต่อประธานกรรมการมรรยาททนายความด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์
เมื่อยื่นคำกล่าวหาแล้วคณะกรรมการมรรยาททนายความก็จะดำเนินการสอบสวนและมีคำสั่ง เมื่อคำสั่งแล้วหากคู่กรณีฝ่ายใดไม่พอใจคำสั่งก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งไปยังประธานกรรมการมรรยาททนายความด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ก็ได้
เมื่อคณะกรรมการมรรยาททนายความมีคำสั่งเกี่ยวกับอุทธรณ์แล้วหากคู่กรณีไม่พอใจคำสั่งสามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลไปครองภายใน 30 วัน เพื่อให้ศาลปกครองเป็นผู้พิจารณาชี้ขาดต่อไปต่อไป
สุดท้ายหวังว่าบทความจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ ในการดำเนินคดีมรรยาททนายความกับทนายความที่ประพฤติผิดมรรยาททนายความต่อไปครับ
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



