เกรย์ มาร์เกต (Grey market) ถ้าแปลกันแบบตรงไปตรงมาแบบทื่อๆ ก็หมายถึง ตลาดสีเทา ตามที่เราๆท่านๆเข้าใจ แต่แท้จริงแล้ว มันคือธุรกิจการนำเข้ารถยนต์ที่ถูกกฎหมายนั่นแหละครับ แต่อยู่ภายใต้เงื่้อนไขข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ค้ากับผู้ผลิตและจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ซึ่งในเมืองไทยมีบริษัทขายรถยนต์ที่เรียกว่า บริษัทผู้นำเข้าอิสระ หรือเกรย์ มาร์เกต เกิดขึ้นมากมาย นับตั้งแต่ที่มีการแก้กฏหมายเรื่องภาษีรถยนต์นำเข้าในปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา 🚙
โดยเหตุผลที่ทำให้ “เกรย์ มาร์เกต” ได้รับความนิยมประการสำคัญ คือเรื่องของ 💸💸“ราคา”💸💸เพราะหากเปรียบเทียบกันกับราคารถที่ขายผ่านตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ถือว่ามีราคาต่ำกว่าพอสมควร
📌ตัวอย่างเช่น รถหรู Porsche รุ่น Panamera 4 E-Hybrid หากเทียบราคากับศูนย์ปอร์เช่ทางการในประเทศไทยแล้ว หากซื้อจากเกรย์ มาร์เกต ก็จะได้ราคาถูกเกือบ 2 ล้านบาทเลยทีเดียว ซึ่งเป็นแรงจูงใจชั้นเยี่ยมที่หลายคนเลือกที่จะซื้อรถยนต์ในตลาดแห่งนี้ พร้อมแบบรับความเสี่ยงติดตามไปด้วย
นอกจากนี้ออฟชั่นที่หลายๆคนพูดถึงคือการที่ ผู้นำเข้าอิสระสามารถที่จะเลือกรถรุ่นที่ไม่มีการนำเข้ามาในเมืองไทยโดยตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการได้ เลือกสีให้ตามที่ลูกค้าต้องการ หรือออฟชั่นเพิ่มเติมได้ตามสั่งมากมาย 💛
โดยเฉพาะระยะเวลาในการสั่งซื้อและจองในบางคันนั้นทำได้อย่างรวดเร็วกว่าศูนย์จำหน่ายอย่างเป็นทางการด้วยซ้ำ ซึ่งจุดนี้ จึงเป็นจุดแข็งที่ทำให้รถจากตลาด Grey Market ยังคงได้รับความนิยมอยู่เรื่อยมา ❣️
อย่างไรก็ตามนอกจากมีข้อดีดังกล่าวแล้ว Grey Market ก็ยังมีข้อเสียเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น รถหรูบางคันที่นำเข้ามาในเมืองไทยตัวเลขภาษีไม่ถูกต้อง / หรืออาจเป็นรถที่จดทะเบียนไม่ถูกต้อง / หรืออาจหลบเลี่ยงภาษี ด้วยการนำเข้าแยกชิ้นส่วนซึ่งเสียภาษีในอัตราที่น้อยกว่ามาก แล้วค่อยนำมาประกอบใหม่ในเมืองไทย เป็นต้น 👀
และสิ่งที่สำคัญที่สุดของเรื่องนี้ คือเรื่องของการรับประกัน เพราะรถที่ไม่ได้ซื้อผ่านตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในเมืองไทย อาจมีบางชิ้นส่วนที่หากเกิดความเสียหายขึ้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมชนิดที่มากกว่าการซ่อมแซมทั่วไป ทำให้บริษัทประกันหลายแห่งไม่ยอมรับประกันรถที่ซื้อจากตลาด “Grey Market” ✖️✖️✖️
เพราะหากคุณซื้อรถยนต์จากตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ บริษัทประกันก็จะรับประกันแน่นอน แต่หากเลือกซื้อรถจาก Grey Market บริษัทประกันก็อาจจะไม่รับประกันในรถคันดังกล่าว และเมื่อเกิดความเสียหาย เจ้าของรถจึงต้องจ่ายค่าซ่อมแซมและค่าอะไหล่รถยนต์ในอัตราที่สูงมากกกกก ‼️‼️
ดังนั้นการตัดสินใจของผู้ซื้อว่าจะยอมเลือกจ่ายแพงกว่า เพื่อตัดปัญหาในกรณีรถต้องซ่อมแซมในอนาคต หรือจะเลือกจ่ายถูกกว่า แต่ต้องยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเช่นเดียวกัน ก็ขึ้นอยู่กับเหตุผล กำลังทรัพย์ และความคาดหวังของเจ้าของรถแต่ละท่านแล้วแหละครับ :) 😊
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



