เผยแพร่เมื่อ: 2024-03-05

กฎหมายเกี่ยวกับการเติมน้ำมัน

เพราะว่าการเดินทางนั้นเป็นสิ่งที่คู่กับมนุษย์เรา มนุษย์เป็นสัตว์สังคมต้องมีการเดินทางไปไหนมาไหนเป็นเรื่องธรรมชาติ บางครั้งก็เดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะ บางครั้งก็ใช้รถส่วนตัว เมื่อใช้รถส่วนตัวก็ต้องเติมน้ำมัน รู้หรือไม่ว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเติมน้ำมันด้วย บทความนี้ Legardy จะรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเติมน้ำมันให้ผู้อ่านทุกท่านได้ทราบกันครับ


Untitled design (16).png

เติมน้ำมันผิด เรียกร้องอะไรได้บ้าง?

การเติมน้ำมันผิดชนิดโดยไม่ตั้งใจ สามารถส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์ได้ เพราะว่าน้ำมันแต่ละชนิดนั้นมีความหนืดความลื่นที่ต่างกัน อาจทำให้ส่วนประกอบของเครื่องยนต์นั้นพังได้ ซึ่งมีความผิดตามกฎหมายดังนี้

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

"ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่กายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น"

ในกรณีนี้ ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า

พนักงานปั๊มน้ำมันเติมน้ำมันผิดชนิดโดยประมาทเลินเล่อหรือจงใจหรือไม่
เครื่องยนต์ได้รับความเสียหายที่เป็นผลเกิดจากการเติมน้ำมันผิดชนิดหรือไม่
ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำโดยประมาทกับความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกันหรือไม่

หากผู้เสียหายสามารถพิสูจน์ทั้งสามข้อข้างต้นได้ ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากปั๊มน้ำมันได้ ซึ่งค่าเสียหายที่เรียกได้นั้น มีทั้งค่าซ่อมรถยนต์ , ค่าเสียโอกาสในการใช้รถ , ค่าเสียหายอื่นๆที่เกิดขึ้นกับเหตุการณ์นี้
ซึ่งอาจจะต้องต่อสู้กันในชั้นศาลครับ ทางปั๊มน้ำมันอาจอ้างได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากการที่พนักงานเติมน้ำมันผิดชนิด ดังนั้นควรเตรียมหลักฐานให้พร้อมหรืออาจต้องปรึกษาทนายเพื่อขอคำแนะนำทางด้านกฎหมาย

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 (ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์)

"ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

การนำมาตรา 358 ฐานทำให้เสียทรัพย์นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ กับกรณีเติมน้ำมันผิดชนิดจนทำให้เครื่องยนต์รถยนต์เสียหายได้เช่นกัน เพราะว่าการเติมน้ำมันผิดชนิดโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานนั้น ทำให้ทรัพย์สิน(รถยนต์)ของผู้เสียหาย เสื่อมค้าหรือไร้ประโยชน์(ใช้งานไม่ได้)ซึ่งเข้าข่ายฐานทำให้เสียทรัพย์
อย่างไรก็ตาม การจะดำเนินคดีอาญาในกรณีนี้ ผู้เสียหายต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนว่าความเสียหายของรถยนต์เกิดจากการเติมน้ำมันผิดชนิดของพนักงานปั๊มน้ำมันโดยตรง และต้องแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี

 

 


น้ำมันผสมน้ำ

หากพบว่ามีน้ำปะปนอยู่ในน้ำมันเชื้อเพลิงเนื่องจากน้ำรั่วซึมเข้าไปในถังเก็บใต้ดินก็ดี หรือมีการผสมน้ำที่หัวจ่ายก็ดี ผู้บริโภคสามารถดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันได้ เนื่องจากการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 25 วรรคสาม 

โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


กฎหมาย ห้ามเติมน้ำมันใส่แกลลอน

โดยทั่วไปแล้ว ไม่ควรนำขวดพลาสติกมาเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะไอระเหยจากน้ำมันอาจกัดกร่อนขวดพลาสติก ทำให้ขวดเสียหายและน้ำมันรั่วไหลออกมาได้ ตามกฎหมายแล้ว ห้ามเติมน้ำมันเชื้อเพลิงลงในขวดพลาสติกที่ปั๊มน้ำมัน โดยเฉพาะขวดน้ำพลาสติกชนิด PET เพราะจะละลายเมื่อสัมผัสกับน้ำมัน ทำให้เกิดอันตรายได้

น้ำมันเชื้อเพลิงควรเก็บในภาชนะที่ออกแบบมาเฉพาะเท่านั้น ไม่ควรเก็บในภาชนะที่ใช้ใส่อาหารหรือเครื่องดื่ม เพราะพลาสติกหลายชนิด เช่น ถุงพลาสติก ถ้วยพลาสติก จะละลายเมื่อสัมผัสกับน้ำมัน
พลาสติกที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์สำหรับเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงได้ ต้องเป็นชนิด HDPE ที่ทนทานต่อการกัดกร่อนของน้ำมันและไม่ละลายง่าย เนื่องจากมีโครงสร้างแข็งแรง ทนทาน และมีจุดหลอมเหลวสูง จึงสามารถป้องกันไม่ให้น้ำมันสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมและความร้อนได้

Untitled design (15).png

ขอบคุณรูปตัวอย่างถังน้ำมันที่ถูกต้องตามกฎหมาย จาก pantip.com


เติมน้ำมันได้ไม่เต็มลิตร

ไม่ผิดกฎหมายนะครับ แต่ใจเย็นๆอย่าพึ่งด่ากฎหมายกัน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ได้ให้เหตุผลเรื่องนี้ว่า

  • ตามกฎหมายกำหนดให้หัวจ่ายน้ำมันมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน ±1% ซึ่งหมายความว่า หากเติมน้ำมัน 1 ลิตร อาจได้น้ำมันจริง 0.99 - 1.01 ลิตร เป็นค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดตาม พ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ 2542
  • อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบสถานีบริการใด ใช้มาตรวัดที่ไม่ถูกต้อง มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และกรณีพบว่ามีการดัดแปลงมาตรวัดจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 120,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากพบความผิดปกติสามารถร้องเรียนได้ที่กรมธุรกิจพลังงาน หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในพื้นที่


เกร็ดความรู้กับ Legardy เรื่องน้ำมันเชื้อเพลิง

1. น้ำมันเบนซินและดีเซลต่างกันอย่างไร?

น้ำมันเบนซินและดีเซลนั้นผลิตจากแหล่งเดียวกันก็คือน้ำมันดิบ แต่ผ่านกระบวนการกลั่นที่ต่างกัน น้ำมันเบนซินจะได้จากการกลั่นน้ำมันดิบที่อุณหภมูิต่ำกว่าน้ำมันดีเซล และน้ำมันเบนซินมีโครงสร้างโมเลกุลที่เล็กทำให้มีน้ำหนักเบากว่าน้ำมันดีเซล และระเหยง่ายกว่าน้ำมันดีเซล

2. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ คืออะไร?

น้ำมันแก๊สโซฮอล์ (Gasohol) คือ น้ำมันเบนซินที่ผสมกับเอทานอล (Ethanol) ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากพืช เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด
การใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมการเกษตรภายในประเทศ

 

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE