ขับรถชนจะต้องรับผิดชอบยังไง ?
การที่เราขับรถไปชนรถของผู้อื่นจนเกิดความเสียหายไม่ว่าจะเป็นต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สินนั้น ให้พิจารณาก่อนว่า การขับรถเฉี่ยวชนรถคู่กรณีเกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ซึ่งการจงใจขับชนคือ การมุ่งประสงค์โดยตรงให้เกิดผลต่อคู่กรณีที่เสียหายว่าให้เค้าบาดเจ็บหรือถึงตาย และทำให้รถเค้าเสียหาย แต่ถ้าเป็นขับรถโดยประมาทนั้น
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรค 4
วางหลักว่า การกระทำโดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา (ไม่ใช่การจงใจขับรถชนเค้านั่นเอง) แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์
ขออธิบายถ้อยคำดังนี้
“ภาวะ” คืออะไร
คือความระมัดระวังซึ่งบุคคลที่อยู่ในสถานการณ์ขณะนั้นควรจะต้องมี เช่น คนที่ขับรถควรขับระมัดระวัง ไม่ขับรถเร็ว ไม่แซง หรือถ้าเห็นเค้าเป็นรถใหญ่กว่าควรขับช้าๆ ให้เค้าขับผ่านไปก่อน เป็นต้น ,
“วิสัย” คืออะไร
คือสภาพในตัวคนขับ เช่น เป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ สภาพ อายุ มีวุฒิภาวะมากน้อยเพียงใด มีแอลกอฮอล์ในร่างกายมากน้อยเพียงใดขณะที่ขับ และ
“พฤติการณ์” คืออะไร
คือ สภาพนอกตัวผู้กระทำ เช่น เส้นถนนที่ขับนั้นถนนมีฝนตก ทางลื่น พื้นขรุขระ หรือตอนกลางคืนมีแสงไฟเพียงพอ หรือไม่ ถ้าเจอพฤติการณ์เหล่านี้ควรค่อยๆขับ ไม่รีบขับเร็ว เป็นต้น
โทษในการขับรถชนทั้งทางแพ่งและอาญา
เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น ผู้กระทำผิดจากการขับรถชนอาจต้องรับโทษในทางอาญาและทางแพ่ง
ได้ดังนี้
1.กรณีความรับผิดทางอาญา
เมื่อเกิดความเสียหายต่อชีวิตหรือร่างกายของคนที่ถูกขับชน
1.1.เมื่อคู่กรณีจงใจขับรถชนเค้าตายก็ผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 คือ ระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ สิบห้าปีถึงยี่สิบปี กลับกัน
1.2.ถ้าขับรถชนคนตายโดยประมาทเช่น ที่เห็นๆกันบ่อยได้แก่ เมาแล้วขับหรือขับรถเร็วเกินกำหนดก็ต้องระวางโทษตามมาตรา 291 ต้องระวางโทษที่เบากว่าคือ โทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท อันนี้ก็เป็นความผิดต่อชีวิตของผู้เสียหาย แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายคือ เพียงบาดเจ็บได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ เช่น จากการถูกเฉี่ยวชนบาดเจ็บ มีแผล เลือดออก
1.3.มาตรา 295 ฐานทำร้ายร่างกายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท แต่ถ้าเป็นประมาทก็เข้า
1.4.มาตรา 390 ทำร้ายร่างกายโดยประมาทจากการขับรถชนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ตาม 1.3-1.4 เป็นเพียงโทษทางอาญาจากการขับรถชนและมีคนบาดเจ็บไม่ร้ายแรง ถ้าร้ายแรงก็เป็นอันตรายสาหัสได้เช่น ชนเค้าจนแขนขาขาด ร่างกายพิการ เค้าต้องเสียอวัยวะต่างๆจนไม่สามารถกลับมามีร่างกายสภาพเดิมนั้น
1.5.ทำร้ายให้ได้รับอันตรายสาหัส มาตรา 297 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าเป็นทำอันตรายสาหัสโดยประมาท
1.6.มาตรา 300 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท นี่คือโทษในทางอาญาจากการขับรถชนและเค้าเสียหายถึงแก่ชีวิตร่างกาย
2.กรณีความรับผิดทางแพ่ง
รถคู่กรณีถูกชนเสียหาย หรือขับรถชนข้าวของเค้าเสียหายก็ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ มาตรา 358 คือระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ในกรณีที่ขับรถชนทรัพย์สินเสียหายนั้นในกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติความรับผิดฐานทำให้เสียทรัพย์โดยประมาทไว้ คู่กรณีจึงอาจเรียกร้องค่าเสียหายในทางนี้ได้ในทางแพ่ง กรณีความรับผิดในทางแพ่ง
การที่เราขับรถชนเค้าเสียหายซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
วางหลักว่า
“ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี ทรัพย์สินก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
แล้วคำว่า “ค่าสินไหมทดแทน”คืออะไร
ค่าสินไหมทดแทนคือค่าเสียหายที่จะเยียวยารักษาความเสียหายจากการถูกเฉี่ยวชนโดยมีมูลค่าเป็นตัวเงิน
การขับรถชนจะต้องเสียค่าเสียหายอะไรบ้าง
ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายต่างๆเรียกได้ดังนี้
1.กรณีขับรถชนคนเสียชีวิต (ไม่ว่าจงใจหรือประมาท)
จะต้องเสียค่าสินไหม 3 ประเภท ได้แก่
1.1ค่าปลงศพ เฉพาะ!! ปลงศพของตัวผู้เสียชีวิต ไม่รวมถึงเงินค่าจัดงานศพ , การทำการ์ดเชิญชวนแขกต่างๆมาร่วมงานศพผู้ตาย, ค่าอาหารและน้ำให้แขกในงาน หรืองานทำบุญครบรอบวันตาย 100 วันหรือครบรอบ 1 ปีก็ไม่สามารถเรียกได้ คู่กรณีที่ขับชนสามารถจ่ายเงินช่วยค่างานศพได้ก็จริงแต่เงินจำนวนนี้จัดเป็นเงินที่ต้องออกเพื่อศีลธรรมจรรยาเท่านั้น ไม่อาจคิดคำนวณเป็นค่าปลงศพด้วยได้ ,
1.2.ค่าขาดไร้อุปการะ ซึ่งถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมเช่น มีสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย (จดทะเบียนสมรส) , บิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้สืบสันดานเช่นบุตร ก็สามารถเรียกได้ แต่ถ้าเป็นบุตรที่บรรลุนิติภาวะที่มีอายุเกิน 20 ปีแล้วจะเรียกไม่ได้ เพราะถ้าผู้ตายเป็นบิดามารดาก็มีหน้าที่อุปการะบุตรจนบุตรอายุ 20 เท่านั้น เว้นแต่บุตรทุพพลภาพหาเลี้ยงชีพไม่ได้ และ
1.3.ค่าการงานที่ต้องทำให้เป็นคุณแก่บุคคลภายนอกในครัวเรือน กล่าวคือ ถ้าคนตายเป็นสามี เป็นเสาหลักของครอบครัวที่ต้องทำงานหาเลี้ยงคนในครอบครัว เมื่อถูกทำให้ตายก็จะไม่มีเงินจากการทำงานไปเลี้ยงคนในครอบครัวก็เรียกส่วนนี้ได้อีก
2.ในกรณีขับรถชนเค้าเค้าไม่ตายสามารถและไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง ?
ในกรณีขับรถชนเค้าไม่ตายจะไม่สามาถเรียกค่าขาดไร้อุปการะและค่าปลงศพได้ แต่สามารถเรียกค่าเสียหายได้ 2 อย่างดังนี้
2.1.ค่ารักษาพยาบาลบาดแผลจากถูกรถชน
2.2.ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เช่น ก.ถูก ข.ขับรถชนแขนหัก ซึ่งก.เป็นกรรมกร ต้องใช้แรงงานเมื่อ ข.ชนจึงไม่สามารถออกแรงยกของได้เหมือนเดิม ข.ก็ต้องจ่าย ก.ส่วนนี้เพราะทำให้ ก.ไม่สามารถประกอบการงานได้ปกติดังเดิม โดยสามารถเรียกได้ทั้งในปัจจุบันและเผื่ออนาคตด้วย ค่าสินไหมใน 2.นี้เฉพาะผู้เสียหายเท่านั้นที่สามารถเรียกได้จากคู่กรณี ไม่อาจโอนให้แก่บุคคลอื่นเรียกแทนตนหรือให้ทายาทเรียกเป็นมรดกได้
แล้วถ้าในกรณีมีรถหรือทรัพย์สินเสียหายสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง ?
ก็เรียกค่าสินไหมเยียวยาได้ เช่น ค่าซ่อมรถให้มีสภาพดังเดิม หรือ ผู้เสียหายต้องขับรถเดินทางไกลถ้าถูกชนจะลำบากต้องนั่งรถโดยสารไปแทน ก็เรียกค่าโดยสารที่ผู้เสียหายต้องเสียไปรวมเป็นค่าสินไหมได้ด้วย การเรียกค่าสินไหมมีอายุความดังนี้คือ มีอายุความ 1 ปีนับแต่รู้เหตุถูกชนรวมทั้งตัวคู่กรณี แต่ถ้าไม่รู้ตัวคู่กรณีและเพิ่งมารู้เอาทีหลังก็ใช้อายุความ 10 ปีนับแต่มีเหตุเกิดขึ้น
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที