ถ่ายพรีเวดดิ้งก่อนแต่งงาน ฝ่ายชายเทไม่แต่งงาน ฝ่ายหญิงฟ้องเรียกค่าจัดงานพรีเวดดิ้งได้ไหม?
การถ่ายพรีเวดดิ้ง คืออะไร
ทนายขออธิบายว่า การถ่ายพรีเวดดิ้ง (Pre wedding) คือ การถ่ายรูปเพื่อตระเตรียมงานแต่งงานทุกอย่าง ก่อนถึงวันแต่งงาน ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจว่าการถ่ายพรีเวดดิ้งเป็นการถ่ายรูปชุดแต่งงานอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการเตรียมตัวก่อนจัดงานแต่งงานไม่ว่าจะเป็นธีมงาน ที่บ่งบอกถึงรูปแบบการบอกเล่าเรื่องราวระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง บางรายอาจเหมารวมการให้บริษัทที่รับจัดงานแต่งงาน ดำเนินการจองสถานที่ จัดเตรียมสถานที่แต่งงาน รูปแบบงาน ถ่ายรูปพรีเวดดิ้ง การจัดพิธีหมั้น รวมถึงวิดีโอที่ใช้เปิดในงานแต่งงานอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดที่ว่ามานี้ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเลยทีเดียว
ทุกคนคงพอจะทราบว่า การจัดพิธีสมรสแบบพิธีสมรสของคนไทย ส่วนใหญ่เเล้วตามขนบธรรมเนียมฝ่ายหญิงจะเป็นคนเสียค่าใช้จ่ายในการจัดงานหรือจัดเตรียมงานแต่งงาน ส่วนฝ่ายชายจะมอบของหมั้นให้ฝ่ายหญิงและสินสอดให้แก่พ่อแม่ฝ่ายหญิง ซึ่งพิธีสมรสในปัจจุบันยังมีจุดประสงค์เพื่อแสดงถึงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง รวมถึงครอบครัวของทั้งสองฝ่าย ค่าใช้จ่ายต่างๆ จึงขึ้นอยู่กับฐานะสภาพทางการเงินการงานของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนิยมที่จะมีการถ่ายภาพพรีเวดดิ้งก่อนเเต่งงาน เพื่อนำไปใช้ทำการ์ดงานแต่ง คลิปวิดีโอนำเสนอเรื่องราวของคู่บ่าวสาวในงานแต่ง ใช้รูปพรีเวดดิ้งตั้งตกแต่งในงานแต่งงาน ซึ่งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่ประสงค์จะแต่งงานมักใช้บริการผู้ที่ทำธุรกิจวางแผนจัดการงานแต่ง ให้คำปรึกษา ประสานงาน และแนะนำรูปแบบงานในธีมต่างๆที่ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงต้องการ ตั้งแต่การแต่งหน้าทำผม เครื่องแต่งกาย พิธีงานหมั้นไปจนถึงงานแต่งงาน ทำให้การถ่ายภาพพรีเวดดิ้งเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการสมรสที่จำเป็นสำหรับฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เพื่อให้งานพิธีสมรสเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ
"จดทะเบียนสมรสมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย!"
ในการเตรียมงานสมรสระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ได้เกิดจากการร่วมตัดสินใจกันถ่ายภาพพรีเวดดิ้งเพื่อจัดเตรียมงานก่อนเเต่งงาน การถ่ายภาพพรีเวดดิ้งจึงเกิดจากความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย การถ่ายพรีเวดดิ้งดังกล่าวจึงเป็นการเตรียมการสมรสโดยสุจริต ต่อมาเมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงได้ทำพิธีหมั้นแล้ว พิธีหมั้นตามประเพณีไทยมักจะจัดขึ้นก่อนพิธีแต่งงาน
อ่านคำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความเรื่อง "ยกเลิกการหมั้น" คลิกเลย !
Q: ของหมั้นถ้าฝ่ายชายรับปากจะให้แต่ยังไม่ได้ให้ผ่านมาหลายปี ฟ้องได้ไหมคะ
การหมั้นในทางกฎหมาย คืออย่างไร
ทนายขออธิบายเพิ่มเติมว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ว่า “การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น” ยกตัวอย่างเช่นฝ่ายชายมอบแหวน มอบทอง ให้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นการยืนยันว่าฝ่ายชายจะสมรสกับฝ่ายหญิงนั่นเอง แหวนและทองที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงนั้น ถือเป็นของหมั้น เมื่อฝ่ายชายมอบของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิงแล้ว ของหมั้นดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายหญิง ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่า “เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง”
หมั้นอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย หาคำตอบได้ที่นี่ คลิก!
เมื่อฝ่ายชายมอบของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับฝ่ายหญิง แต่ต่อมาฝ่ายชายกลับไม่อยากแต่งงานกับฝ่ายหญิงอีกต่อไปแล้ว ฝ่ายชายจึงยกเลิกงานแต่งงาน ถือว่าฝ่ายชายเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น เมื่อฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายหญิงจึงไม่ต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชาย ประกอบกับเมื่อพิจารณาจากอาชีพการงานของทั้งสองฝ่าย ปรากฎว่าทั้งสองฝ่ายต่างประกอบอาชีพแพทย์ ซึ่งเป็นอาชีพที่มีรายได้สูง ย่อมมีสถานภาพสังคมที่มีเกียรติศักดิ์ศรี และเป็นที่ยอมรับนับถือทั่วไป เมื่อคำนึงถึงสถานะทางการเงิน ตลอดจนสถานภาพทางสังคมของทั้งสองฝ่ายเเล้ว และค่าใช้จ่ายในการถ่ายภาพพรีเวดดิ้งดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นไปตามฐานานุรูปตามสมควร (หมายถึงค่าใช้จ่ายในการถ่ายพรีเวดดิ้งมีความเหมาะสมกับอาชีพและสภาพสังคมของทั้งสองฝ่าย) ประกอบกับ การที่ฝ่ายชายยกเลิกงานแต่งงาน หลังจากได้มีพิธีหมั้นแล้ว เหตุผิดสัญญาหมั้นเกิดจากความผิดของฝ่ายชายเพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายหญิงจึงไม่ควรต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคสอง ให้ของหมั้นตกเป็นของฝ่ายหญิง ดังนั้น ฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย
หมั้นแล้วไม่แต่งงานได้ไหม ฟังคำตอบจากทนายได้ที่บทความนี้ คลิกเลย !
ค่าใช้จ่ายในการถ่ายภาพพรีเวดดิ้งเพื่อเตรียมงานแต่งงาน
ทนายขออธิบายเพิ่มเติมว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1440 กำหนดให้ “ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้: (2) ค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร”
ฝ่ายหญิงจึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1440(2) ซึ่งฝ่ายหญิงมีสิทธิเรียกทดแทนความเสียหายเนื่องจากการถ่ายพรีเวดดิ้งจากฝ่ายชายได้ โดยศาลอาจกำหนดให้ฝ่ายชายจ่ายค่าเสียหายให้แก่ฝ่ายหญิง โดยไม่ต้องพิจารณาจากมูลค่าของหมั้นที่ฝ่ายหญิงได้รับจากฝ่ายชาย ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1440 วรรคท้าย ที่กำหนดว่า “ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่า ของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมดหรือเป็นส่วนหนึ่งของค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึงของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้”
สรุป
ทนายขออธิบายเพิ่มเติมว่า การถ่ายภาพพรีเวดดิ้งก่อนเเต่งงาน เกิดจากความตั้งใจและสมัครใจของทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นไปตามฐานะโดยสุจริตและตามสมควร และเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมงานสมรสที่จำเป็นของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เพื่อให้งานสมรสเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ จึงเป็นค่าใช้จ่ายเนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1440(2) การที่ฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้น ไม่อยากแต่งงานกับฝ่ายหญิงแล้ว หรือยกเลิกงานแต่งงาน ฝ่ายหญิงจึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าจัดงานพรีเวดดิ้งได้อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2566 หากกำลังมีข้อสงสัยทางด้านกฎหมาย อย่ารอช้าที่จะ ปรึกษาทนาย Legardy มีทนายที่รวบรวมไว้กว่า 500ท่านพร้อมให้คำตอบคุณตลอด 24ชั่วโมง!
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



