เผยแพร่เมื่อ: 2024-01-15

ความหมายของยาไอซ์และโทษทางด้านกฎหมาย

 

6.png

ยาไอซ์เป็นยาเสพติดประเภทที่ 1 (จากทั้งหมด 5 ประเภท) ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและสมอง ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เกิดความตื่นตัว ร่าเริง ไม่เหนื่อย ไม่ง่วง อยู่นิ่งไม่ได้ ผ่อนคลายความรู้สึกเหนื่อยล้า มีความต้องการทางเพศ เมื่อใช้ไปนาน ๆ จะส่งผลต่อการทำงานของร่างกายและจิตใจ โดยความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผมซูบ ส่วนความเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เช่น อารมณ์แปรปรวน อาการย้ำคิดย้ำทำ หวาดกลัว ซึมเศร้า ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ของยาเสพติดดังกล่าว จะสอดคล้องกับนิยามคำว่า “ยาเสติดให้โทษ”

ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 

ซึ่งกำหนดว่า “ยาเสพติดให้โทษ” หมายถึง “สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย …”

ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !

 


โทษของการเสพ ครอบครอง จำหน่ายยาไอซ์ มีดังนี้

7.png

โทษของการเสพ

 ซึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ซึ่งได้กำหนดนิยามคำว่า “เสพ” ไว้ว่า “เสพ” หมายความว่า การรับยาเสพติดให้โทษเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการกิน ดื่ม สูดดม หรือโดยวิธีการใด ๆ ก็ตาม  ก็จะถือเป็นการ “เสพ” ทั้งสิ้น นอกจากนี้กฎหมายยังระบุห้ามเสพยาเสพติดไว้ตามมาตรา 57 ด้วย โดยกำหนดว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1” และโทษของการเสพยาไอซ์เป็นไปตามมาตรา มาตรา 91 ซึ่งกำหนดว่า “ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 57 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

โทษของการครอบครอง 

การครอบครองจะต่างจากการเสพ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้เขียนนิยามคำว่าครอบครองไว้ชัดเจน โดย

การครอบครองนั้น แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ

2.1 ครอบครองเพื่อเสพ จะมีโทษตามมาตรา 67 ซึ่งกำหนดว่า “ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

2.2 ครอบครองเพื่อจำหน่าย จะมีโทษตามมาตรา มาตรา 66 ซึ่งกำหนดว่า “ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และวรรคสองกำหนดว่า “ถ้ายาเสพติดให้โทษตามวรรคหนึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม แต่ไม่เกินยี่สิบกรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท” และวรรคสามกำหนดว่า “ถ้ายาเสพติดให้โทษตามวรรคหนึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินยี่สิบกรัมขึ้นไปต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต”

 

ทั้งนี้ ความแตกต่างระหว่างข้อ 2.1 และ 2.2 จะเป็นไปตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) ซึ่งกำหนดว่า

 

 “การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามปริมาณดังต่อไปนี้ ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อนุพันธ์แอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไปหรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไป”

ดังนั้น ความแตกต่างของฐานความผิด จึงขึ้นอยู่กับปริมาณที่ครอบครอง หากครอบครองภายใต้เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

ก็จะถือเป็นครอบครองเพื่อจำหน่าย


3 กรณีที่กฎหมายจะจัดว่าเป็นการครอบครองเพื่อจำหน่าย

1. คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัม ขึ้นไป

2. มียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวน 15 หน่วยการใช้ ขึ้นไป (“หน่วยการใช้ตามมาตรา นิยามไว้ว่า เม็ด ซอง ขวด หรือหน่วยอย่างอื่นที่ทำขึ้นซึ่งโดยปกติสำหรับการใช้เสพหนึ่งครั้ง)

3. มีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่ 1.5 กรัม ขึ้นไป

ยกตัวอย่างเช่นการครอบครองเพื่อจำหน่าย

ถ้าครอบครองยาไอซ์ปริมาณ 1 g หรือ 1 กรัม เมื่อส่งตรวจพิสูจน์สารบริสุทธิ์พบว่ายาไอซ์มีสารบริสุทธิ์เข้มข้นสูงถึง 91-100 มิลลิกรัม ซึ่งเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม จึงมีความผิดฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายตามบทสันนิษฐานในมาตรา 67 (ตามข้อ 2.2 ข้างต้น)


Green Organic Warm Fitness Bio-Link Website.png

โทษของการจำหน่าย 

ซึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ซึ่งได้กำหนดนิยามคำว่า “จำหน่าย” ไว้ว่า “จำหน่าย” หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้” ดังนั้น "จำหน่าย" จึงมีความหมายกว้างกว่าความเข้าใจโดยทั่วไป เพราะโดยทั่วไปเรามักเข้าใจว่า "จำหน่ายคือการขาย" เท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว การจ่าย แจก แลกเปลี่ยน หรือให้ซึ่งยาเสพติด ก็ถือว่าเป็นการจำหน่ายด้วยกันทั้งนั้น

ทั้งนี้ การจำหน่ายยังแบ่งออกได้อีกหลายรูปแบบ ได้แก่

3.1 ฐานผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เพื่อจำหน่าย โดยจะมีโทษหนักเบาขึ้นอยู่กับปริมาณของยาไอซ์ ซึ่งต้องระวางโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต (มาตรา 65)

3.2 ฐานจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยจะมีโทษหนักเบาขึ้นอยู่กับปริมาณของยาไอซ์ ซึ่งต้องระวางโทษสูงสุดต้องระวางโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต (มาตรา 66)


สุดท้ายนี้ อยากฝากไว้เป็นข้อเตือนใจทุกท่านว่า ไม่ว่าจะเป็นการเสพ ครอบครอง หรือจำหน่ายยาไอซ์หรือยาเสพติดให้โทษประเภทอื่น ๆ ล้วนเป็นความผิดและมีโทษตามกฎหมายทั้งสิ้น ดังนั้น การเข้าไปพัวพันกับยาเสพติด จึงเป็นสิ่งที่น่ากลัว หมดอนาคต และเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดปัญหาอาชญากรรมอื่น ๆ ในสังคมตามมา หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับหรือคลิกที่นี่ได้เลย !

 

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE