Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 98 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 98 หรือ มาตรา 98 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 98 ” หรือ “มาตรา 98 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยังมิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี แล้วแต่กรณี เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษ จะลงโทษผู้นั้นมิได้
              (๑) ยี่สิบปี สำหรับโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกยี่สิบปี
              (๒) สิบห้าปี สำหรับโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี
              (๓) สิบปี สำหรับโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
              (๔) ห้าปี สำหรับโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีลงมาหรือโทษอย่างอื่น”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 98” หรือ “มาตรา 98 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2565
แม้ ป.อ. มาตรา 58 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษคดีหลังก็ตาม แต่คดีก่อนที่ศาลรอการลงโทษไว้ก็ต้องอยู่ภายใต้อายุความการบังคับโทษตาม ป.อ. มาตรา 98 ด้วย เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและสำเนาคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 652/2554 ของศาลจังหวัดลพบุรีว่า ก่อนคดีนี้จำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 15,000 บาท โทษจำคุกรอการลงโทษไว้ 2 ปี โดยศาลจังหวัดลพบุรีพิพากษาเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 คดีจึงถึงที่สุดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2554 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 ซึ่งอายุความการบังคับโทษจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 652/2554 ของศาลจังหวัดลพบุรี คือ 5 ปี นับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 98 (4) คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 และมีคำขอให้บวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 652/2554 ของศาลจังหวัดลพบุรี จึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอบังคับโทษจำคุกจำเลยซึ่งจำเลยยังไม่ได้รับโทษตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว การนับระยะเวลาว่าจะบวกโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้หรือไม่ จึงต้องนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลยในคดีดังกล่าว คือวันที่ 20 พฤษภาคม 2554 เมื่อนับถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2563 ซึ่งถือว่าเป็นวันที่ได้ตัวจำเลยมาเพื่อรับโทษเกินกำหนดเวลาห้าปีเป็นอันล่วงเลยการลงโทษตามมาตรา 98 (4) แล้ว ดังนั้น ศาลที่พิพากษาคดีนี้จึงไม่อาจ บวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 652/2554 ของศาลจังหวัดลพบุรี เข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10494/2558
บทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 98 มีความหมาย 2 กรณี คือเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด กรณีแรก ถ้าผู้กระทำความผิดยังมิได้รับโทษ ซึ่งหมายถึงหลบหนีไปก่อนศาลมีคำพิพากษาลงโทษ หรือหลบหนีไปเมื่อศาลมีคำพิพากษาลงโทษแล้วและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษ นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด เกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ กรณีที่สอง ถ้าผู้กระทำความผิดได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีไป ซึ่งหมายถึงหลบหนีไประหว่างต้องโทษและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษ นับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีเกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไปไม่มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคำพิพากษาศาลฎีกา จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้รับโทษตามคำพิพากษา การนับระยะเวลาว่าจะลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้หรือไม่ จึงต้องนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหา เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังวันที่ 24 เมษายน 2555 คดีจึงถึงที่สุดในวันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามาจึงไม่เกินห้าปีอันล่วงเลยการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 98 (4)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10494/2558
ป.อ. มาตรา 98 บัญญัติว่า เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยังมิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี แล้วแต่กรณีเกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษ จะลงโทษผู้นั้นมิได้... บทบัญญัติดังกล่าวมีความหมาย 2 กรณี กล่าวคือเมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด กรณีแรก ถ้าผู้กระทำความผิดยังมิได้รับโทษซึ่งหมายถึงหลบหนีไปก่อนศาลมีคำพิพากษาลงโทษ หรือหลบหนีไปเมื่อศาลมีคำพิพากษาลงโทษแล้วและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษ นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด เกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ และกรณีที่สอง ถ้าผู้กระทำความผิดได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีไปซึ่งหมายถึงหลบหนีไประหว่างต้องโทษและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี เกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ คดีนี้ ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไม่มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคำพิพากษาศาลฎีกา และเพิ่งได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามารับโทษตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้รับโทษตามคำพิพากษา การนับระยะเวลาว่าจะลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้หรือไม่ จึงต้องนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหา เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังวันที่ 24 เมษายน 2555 คดีจึงถึงที่สุดในวันดังกล่าวเมื่อนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามาจึงยังไม่เกินห้าปีอันจะล่วงเลยการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 98 (4)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท