Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 92 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 92 หรือ มาตรา 92 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 92 ” หรือ “มาตรา 92 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ถ้าและได้กระทำความผิดใด ๆ อีกในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ก็ดี ภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษก็ดี หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจำคุก ก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 92” หรือ “มาตรา 92 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2564
โจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา บรรยายฟ้องในส่วนของการขอเพิ่มโทษว่า ก่อนคดีนี้จำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ. 2772/2561 ของศาลจังหวัดปทุมธานี ให้จำคุก 9 เดือน ฐานลักทรัพย์ ภายในเวลาห้าปีนับแต่พ้นโทษในคดีดังกล่าว จำเลยมากระทำความผิดเป็นคดีนี้อีก ซึ่งความผิดในคดีก่อนและคดีนี้จำเลยได้กระทำในขณะที่มีอายุเกินกว่า 18 ปีแล้ว และมิใช่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ขอให้เพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 92 และบรรยายฟ้องในส่วนขอให้นับโทษจำคุกต่อว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ. 1375/2562 ของศาลชั้นต้นซึ่งได้ยื่นฟ้องพร้อมกันต่อศาลชั้นต้นในวันนี้ ขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย คำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีในส่วนขอให้เพิ่มโทษและนับโทษต่อแล้ว ซึ่งเมื่อพิจารณาบันทึกคำฟ้อง คำรับสารภาพ คำพิพากษา ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยไม่ต้องการทนายความและให้การรับสารภาพตลอดข้อหา ศาลชั้นต้นจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังจำเลยให้การรับสารภาพตามคำให้การที่ศาลบันทึกไว้ข้างต้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยรับว่าได้กระทำความผิดจริงและหมายความรวมถึงรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษในคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษและเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่ขอให้นับโทษต่อดังกล่าวด้วยแล้ว ทั้งความยังปรากฏต่อศาลเองด้วย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ. 2772/2561 ของศาลชั้นต้น และจำเลยได้มากระทำความผิดในคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ จึงอยู่ในเงื่อนไขเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดนี้ตาม ป.อ. มาตรา 92 และเมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนเกิน 6 เดือนจึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 56 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่เพิ่มโทษจำเลยและรอการลงโทษจำคุกจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2564
โจทก์บรรยายฟ้องว่าก่อนคดีนี้ จำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 7 ปี 18 เดือน และปรับ 400,000 บาท ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ฐานมีและพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 255/2556 และจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน นับโทษจำคุกต่อในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 255/2556 ในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 254/2556 จำเลยพ้นโทษทั้งสองคดีดังกล่าวแล้ว ภายหลังพ้นโทษจำเลยกลับมากระทำความผิดเป็นคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ ซึ่งคดีก่อนและคดีนี้มิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และมิใช่ความผิดซึ่งจำเลยได้กระทำในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ขอศาลเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยหนึ่งในสามของโทษสำหรับความผิดในคดีนี้ และในคำขอท้ายฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ, 72 ทวิ ป.อ. มาตรา 90, 92, 371, ดังนี้คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวถึงข้อที่ว่าจำเลยต้องคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้ว และจำเลยมากระทำความผิดในคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ อันจะเป็นเหตุให้ถูกเพิ่มโทษ และโจทก์ได้อ้างบทบัญญัติซึ่งเป็นเรื่องเพิ่มโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องจะมิได้ระบุขอให้เพิ่มโทษจำเลยไว้อีกก็ตาม ถือได้ว่าโจทก์ได้ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพกับรับว่าเคยต้องโทษและพ้นโทษมาแล้วจริงตามฟ้อง ย่อมแสดงว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในคำขอให้เพิ่มโทษด้วย จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 92 หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2563
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ส่วนคดีนี้ศาลล่างพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก (เดิม) ถึงแม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนอันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก (เดิม) ด้วย แต่ศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองคนหางานโดยเฉพาะ มิได้ลงโทษและกำหนดโทษจำเลยในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์แต่อย่างใด ฉะนั้น ในกรณีเช่นนี้จะเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งเพราะได้กระทำความผิดซ้ำในอนุมาตราเดียวกัน ตาม ป.อ. มาตรา 93 (13) ไม่ได้ ต้องเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 และถึงแม้คดีนี้ โจทก์จะขอเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ซึ่งเป็นบทหนักมาก็ตาม ศาลก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทเบากว่าได้ ไม่เกินคำขอของโจทก์
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท