Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 90 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 90 หรือ มาตรา 90 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 90 ” หรือ “มาตรา 90 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 90” หรือ “มาตรา 90 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3294/2565
เมื่อยาแก้ไอของกลางที่จำเลยมีไว้เพื่อขายเป็นยาแผนปัจจุบันชนิดยาอันตรายและยาปลอม และจำเลยไม่เคยได้รับใบอนุญาตให้ขายยาแผนปัจจุบัน แต่ความผิดฐานมียาแผนปัจจุบันไว้เพื่อขายโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานมียาปลอมไว้เพื่อขายโดยไม่รู้ว่าเป็นยาปลอมดังกล่าว ล้วนเป็นจำนวนเดียวกัน และถูกยึดไว้เป็นของกลางในคราวเดียวกันโดยมีเจตนาเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานมียาแผนปัจจุบันไว้เพื่อขายโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 101 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2565
การที่จําเลยเสพเมทแอมเฟตามีน ด้วยวิธีเผาลนจนเกิดควันแล้วสูดดมควันเข้าสู่ร่างกาย หลังจากนั้น จําเลยเสพเฮโรอีน โดยนําเฮโรอีนใส่ในอุปกรณ์การเสพผสมกับบุหรี่จุดไฟให้เกิดควันแล้วสูดดมควันเข้าสู่ร่างกายแม้วิธีการเสพจะแตกต่างกัน และโจทก์บรรยายฟ้องแยกเป็นข้อ ๆ ต่างหากจากกัน แต่การเสพเมทแอมเฟตามีนและเสพเฮโรฮีนเป็นความผิดในบทบัญญัติกฎหมายมาตราเดียวกัน จําเลยเสพเมทแอมเฟตามีนแล้วเสพเฮโรอีนในเวลาต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกัน ย่อมไม่อาจอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2565
ความผิดฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรี ห้ามเปิดสถานบริการเกินเวลาที่กำหนด และความผิดฐานขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินกว่าเวลาที่กำหนดโดยฝ่าฝืนกฎหมายนั้น จำเลยมีเจตนาที่จะขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นเจตนาเดียวกันในการกระทำความผิดทั้งสามฐานดังกล่าว จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท