Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 89 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 89 หรือ มาตรา 89 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 89 ” หรือ “มาตรา 89 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้ามีเหตุส่วนตัวอันควรยกเว้นโทษ ลดโทษหรือเพิ่มโทษแก่ผู้ระทำความผิดคนใด จะนำเหตุนั้นไปใช้แก่ผู้กระทำความผิดคนอื่นในการกระทำความผิดนั้นด้วยไม่ได้ แต่ถ้าเหตุอันควรยกเว้นโทษ ลดโทษหรือเพิ่มโทษเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงให้ใช้แก่ผู้กระทำความผิดในการกระทำความผิดนั้นด้วยกันทุกคน”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 89” หรือ “มาตรา 89 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7354/2549
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากบ้านของจำเลยที่ 1 เป็นคนละจำนวนกับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายให้แก่สายลับและสามารถแยกเจตนาออกจากกันได้ จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน ส่วนความผิดฐานสนับสนุนให้ผู้อื่นร่วมกันเสพกัญชา ฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 22 และมาตรา 27 ยกเลิกความในมาตรา 76 และมาตรา 92 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ และมาตรา 92 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ มานั้นยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากบทความผิดและบทกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่กับกฎหมายเดิมไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ต้องใช้กฎหมายในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยที่ 1 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้แก้ไขให้ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดที่จำเลยที่ 1 สนับสนุน เหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2544
ไม้สักแปรรูปที่เจ้าพนักงานยึดเป็นของกลางในคดีนี้มีจำนวนเพียง 1 แผ่น ปริมาตร 0.268 ลูกบาศก์เมตร เท่านั้น ซึ่งเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่ร้ายแรงนักประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ยังอยู่ในวิสัยที่พนักงานคุมประพฤติจะแก้ไขฟื้นฟูให้จำเลยที่ 1 กลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ กรณีจึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 58 และเนื่องจากการรอการลงโทษด้วยเหตุสภาพแห่งความผิดและพฤติการณ์ตามรูปคดีดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนเช่นกัน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาให้ได้รับการรอการลงโทษจำคุกดุจจำเลยที่ 1 ผู้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 ป.อ. มาตรา 89
ความผิดฐานทำไม้เป็นความผิดทั้งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และ พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ อันเป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษบทหนักตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 73 วรรคสอง (1)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2541
ขณะที่จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายนั้นนาฬิกาของผู้เสียหายหลุดจากข้อมือ จำเลยที่ 1 กับพวกมิได้เข้าหยิบฉวยนาฬิกาแต่อย่างใด กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกวิ่งไล่ตามผู้เสียหายไปจนถึงปากซอย แสดงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมิได้ประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหาย แต่เมื่อทำร้ายผู้เสียหาย แล้วเห็นนาฬิกาของผู้เสียหายตกอยู่จึงมีเจตนาที่จะเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน และเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายและฐานลักทรัพย์เท่านั้น การทำร้ายร่างกายและการลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องให้ลงโทษในการกระทำความผิดดังกล่าว ศาลก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์แต่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์อันเป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลถึงจำเลยอื่นที่ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 89 แม้จำเลยอื่นจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยอื่นได้
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท