Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 77 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 77 หรือ มาตรา 77 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 77 ” หรือ “มาตรา 77 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ในกรณีที่ศาลวางข้อกำหนดให้บิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ ระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตามความในมาตรา ๗๔ (๒) ถ้าเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้นภายในเวลาในข้อกำหนด ศาลมีอำนาจบังคับบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ ให้ชำระเงินไม่เกินจำนวนในข้อกำหนดนั้น ภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควร ถ้าบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ไม่ชำระเงิน ศาลจะสั่งให้ยึดทรัพย์สินของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ เพื่อใช้เงินที่จะต้องชำระก็ได้
              ในกรณีที่ศาลได้บังคับให้บิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ชำระเงินตามข้อกำหนดแล้วนั้น ถ้าศาลมิได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งที่ได้วางข้อกำหนดนั้นเป็นอย่างอื่นตามความในมาตรา ๗๔ วรรคท้าย ก็ให้ข้อกำหนดนั้นคงใช้บังคับได้ต่อไปจนสิ้นเวลาที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดนั้น”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 77” หรือ “มาตรา 77 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2519
จำเลยกับพวกร่วมกันชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายชกต่อยผู้เสียหายปรากฏตามรายงานการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์เพียงว่า คางข้างขวาบวม ไม่มีเขียว ไม่ช้ำ รักษาหายภายใน 3 วัน เป็นบาดแผลเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นเหตุได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง มิใช่วรรคสี่
การขอให้ศาลปรับผู้ปกครองในกรณีเด็กก่อเหตุร้ายขึ้นภายในเวลาในข้อกำหนด นั้น จะต้องร้องขอในคดีเดิมที่ศาลวางข้อกำหนดไว้ โจทก์จะมาขอในคดีนี้ไม่ได้


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2519
จำเลยกับพวกร่วมกันชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายชกต่อยผู้เสียหายปรากฏตามรายงาน การตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์เพียงว่า คางข้างขวาบวม ไม่มีเขียว ไม่ช้ำ รักษาหายภายใน 3 วัน เป็นบาดแผลเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นเหตุได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสองมิใช่วรรคสี่
การขอให้ศาลปรับผู้ปกครองในกรณีเด็กก่อเหตุร้ายขึ้นภายในเวลาในข้อกำหนดนั้น จะต้องร้องขอในคดีเดิมที่ศาลวางข้อกำหนดไว้ โจทก์จะมาขอในคดีนี้ไม่ได้


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2515
จำเลยอายุไม่เกิน 14 ปี กระทำความผิด ศาลได้สั่งให้มอบตัวแก่บิดาจำเลยรับไปดูแล หากจำเลยก่อเหตุร้ายขึ้นภายใน 3 ปี ให้บิดาจำเลยชำระเงินต่อศาลครั้งละ 500บาทต่อมาจำเลยกระทำผิดอีก ศาลจึงสั่งให้ปรับบิดาจำเลยตามข้อกำหนดดังกล่าว และต่อมาจำเลยยังได้กระทำความผิดอีกเป็นครั้งที่สองในเวลากระชั้นชิดกัน สุดความสามารถที่บิดาจะควบคุมดูแลได้กับปรากฏว่าบิดาจำเลยเป็นคนยากจนด้วยเช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่บังคับให้บิดาจำเลยชำระเงินตามข้อกำหนดสำหรับการก่อเหตุร้ายของจำเลยครั้งที่สองเสียได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 77 มิใช่บทบังคับเด็ดขาดว่า ในกรณีที่เด็กก่อเหตุร้ายขึ้นแล้ว ศาลจักต้องบังคับบิดาฯให้ชำระเงินตามข้อกำหนดเสมอไปโดยศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจเพียงให้ชำระเงินน้อยกว่าที่ได้กำหนดไว้เท่านั้น แต่ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควรก็อาจไม่บังคับให้ชำระเงินเลยก็ได้
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท