Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-19

มาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 7 หรือ มาตรา 7 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 7 ” หรือ “มาตรา 7 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดกระทำความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้นอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร คือ
              (๑) ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๒๙
              (๑/๑)๑ ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๕/๑ มาตรา ๑๓๕/๒ มาตรา ๑๓๕/๓ และมาตรา ๑๓๕/๔
              (๒) ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔๐ ถึงมาตรา ๒๔๙ มาตรา ๒๕๔ มาตรา ๒๕๖ มาตรา ๒๕๗ และมาตรา ๒๖๖ (๓) และ (๔)
              (๒ ทวิ)๒ ความผิดเกี่ยวกับเพศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๒ และมาตรา ๒๘๓
              (๓) ความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๙ และความผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๔๐ ซึ่งได้กระทำในทะเลหลวง”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 7” หรือ “มาตรา 7 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2493
กำหนดเวลาอนุญาตให้เล่นการพนันประเภทบิลเลียดที่บัญญัติไว้ตามกฎหมายกระทรวงมหาดไทย(ฉบับที่ 10) 2488 ได้ถูกยกเลิกแก้ไขใหม่แล้วตามกฎกระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 13) 2490 โดยอนุญาตให้เล่นได้ระหว่าง 7. น. ถึง 24 น.
เจ้าพนักงานออกใบอนุญาตให้จำเลยเล่นการพนันประเภทบิลเลียดตามแบบ พ.น.28 ท้ายกฎกระทรวงมหาดไทย(แบับที่ 10) ซึ่งอนุญาตให้เล่นได้ตั้งแต่เวลา 12 น. ถึง 23 น. ซึ่งในขณะนั้นได้มีกฎกระทรวงหมาดไทย(ฉบับที่ 13) ยกเลิกแก้ไขกฎกระทรวงมหาดไทย(ฉบับที่ 10) แล้วโดยอนุญาตให้เล่นได้ตั้งแต่เวลา 7 น. ถึง 24 น. เมื่อจำเลยเล่นพนันบิลเลียดเวลา 9.25 น. จำเลยย่อมไม่มีความผิด


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1247/2498
เมื่อโทษที่จะเพิ่มและจะลดมีกำหนด (กึ่งหนึ่ง ) เท่ากัน ศาลต้องให้หักกลบลบกันไม่ต้องเพิ่มไม่ต้องลด
แม้ ม. 293 จะกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงไว้ไม่เกิน 5 ปี แต่เมื่อมีการเพิ่มโทษ ผู้นั้นก็ยังต้องถูกเพิ่มโทษอีกโสดหนึ่งด้วย


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2497
ไม้สักที่ขึ้นอยุ่ในที่ดินของเอกชน ได้ถูกตัดและขายกันต่อมาตลอดจนการแปรรูปไม้ได้กระทำก่อนแต่วันใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ ( ฉบับที่ 3 ) 2494 ดังนี้ ไม้สักดังกล่าวนั้น ย่อมไม่ใช่ไม้หวงห้าม ผู้ใดจะมีไว้ในครอบครอง จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องขออนุญาต
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท