Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 66 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 66 หรือ มาตรา 66 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 66 ” หรือ “มาตรา 66 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ความมึนเมาเพราะเสพย์สุราหรือสิ่งเมาอย่างอื่นจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวตามมาตรา ๖๕ ไม่ได้ เว้นแต่ความมึนเมานั้นจะได้เกิดโดยผู้เสพย์ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้มึนเมา หรือได้เสพย์โดยถูกขืนใจให้เสพย์ และได้กระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ ผู้กระทำความผิดจึงจะได้รับยกเว้นโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้นั้นยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 66” หรือ “มาตรา 66 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2538
จำเลยอุ้มผู้ตายไปจากบ้านย่าของผู้ตายจำเลยพูดจาดีไม่มีสติเลอะเลือนไม่มีอาการมึนเมาสุรามากแต่อย่างใดหลังจากข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายแล้วจำเลยกลัวว่าจะมีผู้มาพบศพผู้ตายจำเลยจึงนำศพผู้ตายไปกดให้จมลงติดโคลนใต้ผิวน้ำแสดงว่าจำเลยยังมีสติและความคิดที่จะเอาตัวรอดอยู่การที่จำเลยสมัครใจดื่มสุราเองและขณะกระทำความผิดแม้จะมีความมึนเมาสุราแต่ก็ยังมีสติดังนี้จำเลยจะอ้างว่ากระทำความผิดเพราะขาดสติสัมปชัญญะและไม่รู้ตัวไม่ได้ การกระทำความผิดครั้งแรกมิใช่เหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2538
จำเลยอุ้มผู้ตายไปจากบ้านย่าของผู้ตาย จำเลยพูดจาดี ไม่มีสติเลอะเลือน ไม่มีอาการมึนเมาสุรามากแต่อย่างใด หลังจากข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายแล้ว จำเลยกลัวว่าจะมีผู้มาพบศพผู้ตาย จำเลยจึงนำศพผู้ตายไปกดให้จมลงติดโคลนใต้ผิวน้ำ แสดงว่าจำเลยยังมีสติและความคิดที่จะเอาตัวรอดอยู่ การที่จำเลยสมัครใจดื่มสุราเองและขณะกระทำความผิดแม้จะมีความมึนเมาสุรา แต่ก็ยังมีสติ ดังนี้จำเลยจะอ้างว่ากระทำความผิดเพราะขาดสติสัมปชัญญะและไม่รู้ตัวไม่ได้
การกระทำความผิดครั้งแรกมิใช่เหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ.มาตรา 78


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2537
แม้แพทย์จะเบิกความว่าจำเลยมีอาการหูแว่ว สอบถามไม่พูดแต่แสดงอาการฉุนเฉียว แยกตัวอยู่ตามลำพัง หลังจากตรวจแล้วพบแนวคิดผิดปกติและหลังจากรับตัวจำเลยได้ 1 วัน ได้เริ่มสอบถามจำเลย จำเลยพูดคำตอบคำอย่างรู้เรื่อง และลงความเห็นว่าอาการที่ตรวจพบเชื่อว่าเป็นมานานไม่น้อยกว่า 1 ปี ก็ตามแต่ก่อนเกิดเหตุ แม้จำเลยดื่มสุราก็ไม่มีอาการผิดปกติขณะเกิดเหตุก็สามารถจดจำบุคคลและเรียกชื่อได้ถูกต้อง ได้เลือกทำร้ายเฉพาะบุคคล ไม่ทำร้ายบุคคลทั่วไปซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุจำนวนมาก จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ จำเลยเสพสุราและกัญชาทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้มึนเมา จำเลยจึงไม่อาจยกเอาความมึนเมานั้นขึ้นเป็นข้อแก้ตัวว่าไม่สามารถรู้สึกผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท