Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 60 หรือ มาตรา 60 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 60 ” หรือ “มาตรา 60 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น แต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้น เพราะฐานะของบุคคลหรือเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้าย มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 60” หรือ “มาตรา 60 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11666/2557
จำเลยกับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปในบ้านพักอาศัยของผู้เสียหายที่ 1 แล้วชกต่อยผู้เสียหายที่ 2 แสดงว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาแต่แรกเพียงที่จะทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 เท่านั้น แต่ภายหลังจำเลยชกต่อยกับผู้เสียหายที่ 2 แล้ว จำเลยเรียก ว. เข้ามายิงผู้เสียหายที่ 2 ในขณะผู้เสียหายที่ 2 ล้มนอนบนพื้น การที่ ว. ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นภายหลัง การกระทำของจำเลยกับพวกในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นและร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยพลาด กับความผิดฐานร่วมกันบุกรุก จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2554
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่าแต่ผู้เสียหายหลบหลีกได้ทันจึงไม่ถึงแก่ความตาย และมีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายด้วย แต่พยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้เสียหาย คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยชกต่อยผู้เสียหายซึ่งจำเลยนำสืบรับข้อเท็จจริงนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย แต่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 391 แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้การที่จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงโจทก์ร่วม กระสุนปืนถูกโจทก์ร่วมและยังทะลุพลาดถูก อ. ด้วยนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า อ. โดยพลาดซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ข้อหาพยายามฆ่าผู้เสียหายและมิได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่า อ. โดยพลาดจึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2865/2553
ผู้กระทำผิดซึ่งเป็นผู้ถูกข่มเหงจะอ้างเหตุบันดาลโทสะได้จะต้องกระทำต่อผู้ข่มเหง ตามข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่า ป. ได้ข่มเหงหรือร่วมกับ น. ข่มเหงจำเลยแต่อย่างใด จำเลยจะใช้อาวุธปืนยิง น. แต่กระสุนปืนไปถูก ป. ซึ่งอยู่ด้านหน้าของ น. จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่ากระสุนปืนที่จำเลยยิงออกไปนั้นจะถูก ป. ที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำโดยพลาดตาม ป.อ. มาตรา 60 จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเจตนาฆ่า น. ด้วยเหตุบันดาลโทสะแต่ผลของการกระทำเกิดแก่ ป. โดยพลาดไป จึงต้องถือว่าจำเลยเจตนาฆ่า ป. ด้วยเหตุบันดาลโทสะด้วยไม่ได้ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเจตนาฆ่า ป. แต่ ป. มิได้เป็นผู้ข่มเหงจำเลย จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะได้ แม้จะได้ความจากทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมว่า เมื่อ ป. ถูกจำเลยยิงล้มลง น. วิ่งหนีจำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิง น. ถึงแก่ความตายด้วยเหตุบันดาลโทสะก็ตามก็เป็นคนละตอนและคนละเจตนาแยกต่างหากจากกันกับที่จำเลยยิง ป.
จำเลยใช้อาวุธปืนจ้องยิงผู้เสียหาย 2 นัด จำเลยลงมือกระทำความผิดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลเพราะกระสุนปืนด้าน จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท