Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-19

มาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายอาญา


 

“มาตรา 6” หรือ “มาตรา 6 อาญา” คืออะไร?


“มาตรา 6 ” หรือ “มาตรา 6 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ความผิดใดที่ได้กระทำในราชอาณาจักรหรือที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร แม้การกระทำของผู้เป็นตัวการด้วยกัน ของผู้สนับสนุน หรือของผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ก็ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุน หรือผู้ใช้ให้กระทำได้กระทำในราชอาณาจักร”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 6” หรือ “มาตรา 6 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2563
แม้จำเลยจะส่งมอบนาฬิกาของกลางที่ประเทศกัมพูชา แต่จำเลยแจ้งหมายเลขบัญชีธนาคาร ก. ที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ให้ ว. โอนเงินค่านาฬิกาเข้าบัญชีดังกล่าว ถือว่าจำเลยในฐานะตัวการได้กระทำผิดในราชอาณาจักรไทย ตาม ป.อ. มาตรา 5 และมาตรา 6เมื่อการกระทำของจำเลยกับพวกเป็นกรณีความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง เป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (2) และ (3) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองนครราชสีมาซึ่งเป็นท้องที่ที่จับจำเลยได้อยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ มิใช่กรณีความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทยอย่างเดียวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 20 เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองนครราชสีมาทำการสอบสวน การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2532
ผู้ตายถือ มีดดาบติดตัว เข้าไปในโรงเรียนซึ่ง อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของจำเลย เมื่อจำเลยห้ามปราม ผู้ตายไม่เชื่อฟังกลับใช้มีดดาบฟันศีรษะจำเลยจนได้รับบาดเจ็บมีโลหิตไหล จำเลยแย่งมีดดาบจากผู้ตายได้ แล้วเดิน ออกจากโรงเรียนเพื่อจะไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ผู้ตายมาดัก ขอโทษจำเลยในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจำเลยไม่ยอมยกโทษให้ผู้ตาย และได้ ใช้ มีดดาบที่ถือ อยู่ในมือฟันผู้ตายถึง แก่ความตายการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันสิทธิตามกฎหมาย เพราะภยันตรายผ่านพ้นไปแล้ว และไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึงอีก แต่ การที่จำเลยใช้ มีดฟันผู้ตายหลังจากเกิดเหตุในตอนแรกแล้วประมาณ 3-4 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดในขณะที่โทสะยังรุนแรงอยู่ อันเนื่องมาจากถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วย เหตุอันไม่เป็นธรรม เช่นนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดย บันดาลโทสะ.


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2515
จำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน ในขณะที่มารดาโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินตามโฉนดนั้นยังมีชีวิตอยู่มารดาโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย แม้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรเป็นทายาทผู้รับมรดกที่ดินตามโฉนดนั้นเพิ่งทราบการกระทำของจำเลยหลังจากที่มารดาโจทก์ตายแล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137

 


 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท