Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 55 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 55 หรือ มาตรา 55 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 55 ” หรือ “มาตรา 55 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าโทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเวลาเพียงสามเดือนหรือน้อยกว่า ศาลจะกำหนดโทษจำคุกให้น้อยลงอีกก็ได้ หรือถ้าโทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเวลาเพียงสามเดือนหรือน้อยกว่าและมีโทษปรับด้วย ศาลจะกำหนดโทษจำคุกให้น้อยลง หรือจะยกโทษจำคุกเสีย คงให้ปรับแต่อย่างเดียวก็ได้”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 55” หรือ “มาตรา 55 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2550
ป.อ. มาตรา 55 และ 76 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจเป็นเรื่องๆไป แล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดี หาได้เป็นบทบังคับให้ศาลต้องลดมาตราส่วนโทษให้จำเลย หรือลงโทษจำคุกจำเลยให้น้อยลงอีก หรือยกโทษจำคุก หรือปรับจำเลยแต่อย่างเดียวทุกกรณีเสมอไปไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพันและเครื่องหมายห้ามเลี้ยวขวา จำเลยให้การรับสารภาพ จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง, 22 (1), 152 ด้วย แม้โจทก์จะขอมาท้ายฟ้องให้ลงโทษตามมาตรา 152 โดยไม่ได้อ้างมาตรา 21, 22 มาด้วยศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยได้เพราะไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลล่างทั้งสองยังมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7009/2549
จำเลยทั้งสองเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบหลายงวด ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำเป็นอาชีพ พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยทั้งสองไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและมีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว รวมทั้งอ้างความจำเป็นในการกระทำความผิด ก็มิใช่เหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง อย่างไรก็ตามโทษจำคุกที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในแต่ละกระทงมีกำหนดเวลาน้อยกว่าสามเดือน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกให้น้อยลงอีกได้ ตาม ป.อ. มาตรา 55 แม้จะปรากฏว่าโทษจำคุกที่กำหนดใหม่จะต่ำกว่าอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำตามมาตรา 12 (1) แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2549
การยกโทษจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 55 เป็นดุลพินิจแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร เพียงแต่โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดต้องเป็นโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน โดยไม่คำนึงว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ และผู้นั้นจะเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนหรือไม่ก็ตาม
จำเลยเคยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตมาก่อน และมากระทำความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีก แสดงว่าจำเลยมิได้เข็ดหลาบและมิได้เกรงกลัวต่อโทษตามกฎหมาย ศาลจึงไม่ยกโทษจำคุกให้จำเลย
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท