Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 51 หรือ มาตรา 51 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 51 ” หรือ “มาตรา 51 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ในการเพิ่มโทษ มิให้เพิ่มขึ้นถึงประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกเกินห้าสิบปี”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 51” หรือ “มาตรา 51 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2554
ปัญหาว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้คู่ความถือเอาคำให้การของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมาเป็นส่วนหนึ่งของคำเบิกความในชั้นพิจารณาแล้วให้ทนายจำเลยที่ 1 ถามค้าน เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง เพราะไม่ได้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ก็สามารถยกขึ้นเป็นเหตุฎีกาได้ และคู่ความฝ่ายที่เสียหายจากการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอาจยกปัญหานั้นขึ้นว่ากล่าวได้ในเวลาใดๆ ก่อนศาลมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ก่อนเบิกความโจทก์เป็นฝ่ายเสนอโดยแถลงว่าจะขอถือคำให้การพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นคำให้การของพยานในชั้นพิจารณาเพราะทนายโจทก์จะถามพยานเช่นเดียวกับในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ทนายจำเลยทั้งสามยอมรับ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้คู่ความปฏิบัติตามที่ตกลงกัน โดยทนายจำเลยที่ 1 ถามค้านและทนายโจทก์ถามติงแล้วต่างฝ่ายต่างสืบพยานมาจนเสร็จสิ้น โจทก์ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งการดำเนินกระบวนพิจารณาในการสืบพยานปากนั้นเป็นการกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยเพียงแต่โจทก์ขอให้ถือเอาคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นคำเบิกความในชั้นพิจารณา ก็เป็นวิธีการของโจทก์เองที่เลือกเสนอพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยด้วยวิธีนี้ ศาลไม่มีหน้าที่ต้องทักท้วงเสนอแนะว่าพยานหลักฐานเช่นนี้ใช้ลงโทษจำเลยได้หรือไม่ ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2550
จำเลยชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนและเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การที่ ป.อ. มาตรา 340 ตรี บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 339 โดยใช้อาวุธปืน ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 339 กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นเรื่องการเพิ่มโทษไม่ จะนำ ป.อ. มาตรา 51 มาเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี เพื่อระวางโทษหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งไม่ได้ จึงนำ ป.อ. มาตรา 340 ตรี มาปรับด้วยไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคท้าย


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2550
ป.อ. มาตรา 340 ตรี บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 339 โดยใช้อาวุธปืนต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 339 กึ่งหนึ่งนั้น หาใช่เรื่องการเพิ่มโทษไม่ จะนำ ป.อ. มาตรา 51 มาเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี เพื่อระวางโทษหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งไม่ได้ จึงนำ ป.อ. มาตรา 340 ตรี มาปรับด้วยไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสุดท้าย
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท