Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 50 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 50 หรือ มาตรา 50 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 50 ” หรือ “มาตรา 50 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษผู้ใด ถ้าศาลเห็นว่าผู้นั้นกระทำความผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ หรือเนื่องจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ และเห็นว่าหากผู้นั้นประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นต่อไปอาจจะกระทำความผิดเช่นนั้นขึ้นอีก ศาลจะสั่งไว้ในคำพิพากษาห้ามการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นโทษไปแล้วก็ได้”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 50” หรือ “มาตรา 50 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6530/2556
การที่ศาลจะนำ ป.อ. มาตรา 50 มาใช้บังคับต้องได้ความว่า จำเลยประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ และได้กระทำความผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ หรือเนื่องจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ และศาลเห็นว่าหากจำเลยประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นต่อไป อาจกระทำความผิดเช่นนั้นขึ้นอีก ศาลจะสั่งไว้ในคำพิพากษาห้ามประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นโทษไปแล้วก็ได้ แต่ความผิดของจำเลยเป็นความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสี่ ไม่เกี่ยวกับอาชีพหรือวิชาชีพที่จำเลยประกอบอยู่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลของจำเลย จึงหาใช่คำสั่งตาม ป.อ. มาตรา 50 ไม่ แต่เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย กรณีจึงไม่อาจนำ ป.อ. มาตรา 50 มาใช้บังคับได้


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2537
จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาล ได้รับใบอนุญาตให้ขายยาแผนโบราณ และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณสาขาเภสัชกรรม เมื่อยาของกลางมีไว้เพื่อกิจการค้าของจำเลยและถูกเก็บซุกซ่อนอยู่ในสถานพยาบาล แม้มิได้นำออกแสดงโดยเปิดเผยให้คนทั่วไปทราบ แต่จำเลยพร้อมที่จะนำมาขายให้แก่คนไข้หรือผู้มาขอซื้อได้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติยา ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยถูกร้องเรียนจากราษฎรว่าสถานพยาบาลของจำเลยมีพฤติการณ์หลอกลวงคนไข้ว่าสามารถรักษาโรคสารพัดโดยใช้คนขับรถสองแถวรับจ้างชักจูงคนไข้ เจ้าหน้าที่เคยตักเตือนจำเลยแล้ว ก็ยังไม่ยอมงดการกระทำอันเป็นการท้าทายเจ้าหน้าที่โดยอาศัยโอกาสที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณสาขาเภสัชกรรม หากปล่อยให้จำเลยประกอบอาชีพต่อไปอาจกระทำความผิดได้อีก กรณีอยู่ในหลักเกณฑ์ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้แก่จำเลย


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2537
จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาล ได้รับใบอนุญาตให้ขายยาแผนโบราณ และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเภสัชกรรม เมื่อยาของกลางมีไว้เพื่อกิจการค้าของจำเลย และถูกเก็บซุกซ่อนอยู่ในสถานพยาบาล แม้มิได้นำออกแสดงโดย เปิดเผยให้คนทั่วไปทราบ แต่จำเลยพร้อมที่จะนำมาขายให้แก่ คนไข้หรือผู้มาขอซื้อได้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติ ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 4,72,122 ซึ่งตาม มาตรา 4 ให้ถือว่า การมีไว้เพื่อขายเป็นการขายด้วย ก่อนเกิดเหตุ จำเลยถูกร้องเรียนจากราษฎรว่าสถานพยาบาลของจำเลยมีพฤติการณ์หลอกลวงคนไข้ว่าสามารถรักษาโรคสารพัดโดยใช้คนขับรถสองแถวรับจ้างชักจูงคนไข้ เจ้าหน้าที่เคยตักเตือนจำเลยแล้ว ก็ยังไม่ยอมงดการกระทำอันเป็นการท้าทายเจ้าหน้าที่ โดยอาศัยโอกาสที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณสาขาเภสัชกรรม หากปล่อยให้จำเลยประกอบอาชีพต่อไป อาจกระทำความผิดได้อีก กรณีอยู่ในหลักเกณฑ์ใช้วิธีการเพื่อ ความปลอดภัยแก่จำเลยโดยห้ามจำเลยประกอบอาชีพผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเภสัชกรรม
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท