Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 46 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 46 หรือ มาตรา 46 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 46 ” หรือ “มาตรา 46 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าความปรากฏแก่ศาลตามข้อเสนอของพนักงานอัยการว่าผู้ใดจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น หรือจะกระทำการใดให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในการพิจารณาคดีความผิดใด ไม่ว่าศาลจะลงโทษผู้ถูกฟ้องหรือไม่ก็ตาม เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น หรือจะกระทำความผิดให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งผู้นั้นให้ทำทัณฑ์บนโดยกำหนดจำนวนเงินไม่เกินกว่าห้าหมื่นบาทว่าผู้นั้นจะไม่ก่อเหตุร้ายหรือจะไม่กระทำความผิดดังกล่าวแล้วตลอดเวลาที่ศาลกำหนด แต่ไม่เกินสองปี และจะสั่งให้มีประกันด้วยหรือไม่ก็ได้
              ถ้าผู้นั้นไม่ยอมทำทัณฑ์บนหรือหาประกันไม่ได้ ให้ศาลมีอำนาจสั่งกักขังผู้นั้นจนกว่าจะทำทัณฑ์บนหรือหาประกันได้ แต่ไม่ให้กักขังเกินกว่าหกเดือน หรือจะสั่งห้ามผู้นั้นเข้าในเขตกำหนดตามมาตรา ๔๕ ก็ได้
              การกระทำของผู้ซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีมิให้อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติตามมาตรานี้”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 46” หรือ “มาตรา 46 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5035/2560
จำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางในขณะเมาสุรา และขับรถด้วยความเร็วสูงปาดหน้ารถคันอื่นไปมาบนถนนสาธารณะในลักษณะเปลี่ยนช่องทางเพื่อหลบหนีการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจ โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ร้ายแรง รถจักรยานยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ขับในขณะเมาสุราและขับโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและความเดือดร้อนของผู้อื่น จึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง อันพึงริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)

การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุราและขับรถด้วยความเร็วสูงเปลี่ยนช่องทางไปมาโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ขณะที่จำเลยยังคงมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 131 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แสดงว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองฐานในขณะเดียวกันและต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาเดียวคือขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ซึ่งศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดมานั้น เป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2499
ปืนลั่นจากมือจำเลยในขณะที่จำเลยกำลังเป็นลมบ้าหมูไม่รู้สึกตัวไปถูกผู้เสียหายเข้า จำเลยไม่มีผิดฐานพยายามฆ่าคนหรือทำร้ายร่างกาย


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039 - 1040/2472
ทำร้ายคนตายในเวลาวิกลจริตกฎหมายยกเว้นโทษ
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท