Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 41 หรือ มาตรา 41 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 41 ” หรือ “มาตรา 41 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดเคยถูกศาลพิพากษาให้กักกันมาแล้ว หรือเคยถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือนมาแล้วไม่น้อยกว่าสองครั้งในความผิดดังต่อไปนี้ คือ
              (๑) ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐๙ ถึงมาตรา ๒๑๖
              (๒) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑๗ ถึงมาตรา ๒๒๔
              (๓) ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔๐ ถึงมาตรา ๒๔๖
              (๔) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗๖ ถึงมาตรา ๒๘๖
              (๕) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๘ ถึงมาตรา ๒๙๐ มาตรา ๒๙๒ ถึงมาตรา ๒๙๔
              (๖) ความผิดต่อร่างกาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๕ ถึงมาตรา ๒๙๙
              (๗) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐๙ ถึงมาตรา ๓๒๐
              (๘) ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ถึงมาตรา ๓๔๐ มาตรา ๓๕๔ และมาตรา ๓๕๗
              และภายในเวลาสิบปีนับแต่วันที่ผู้นั้นได้พ้นจากการกักกัน หรือพ้นโทษ แล้วแต่กรณี ผู้นั้นได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดในบรรดาที่ระบุไว้นั้นอีกจนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือนสำหรับการกระทำความผิดนั้น ศาลอาจถือว่า ผู้นั้นเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย และจะพิพากษาให้กักกันมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามปีและไม่เกินสิบปีก็ได้
              ความผิดซึ่งผู้กระทำได้กระทำในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีนั้น มิให้ถือเป็นความผิดที่จะนำมาพิจารณากักกันตามมาตรานี้”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 41” หรือ “มาตรา 41 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2563
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรและบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือนในความผิดฐานลักทรัพย์มาแล้ว 6 คดี หลังจากพ้นโทษทั้งหกคดีแล้ว จำเลยกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกภายในเวลาสิบปีนับแต่จำเลยพ้นโทษ ซึ่งเป็นความผิดที่ระบุไว้ ตาม ป.อ. มาตรา 41 (8) เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องมิใช่ข้อหาในความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น จึงไม่อยู่ในบังคับที่ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานลักทรัพย์และรับว่าเคยต้องโทษจำคุกและพ้นโทษตามฟ้องจริง โจทก์จึงไม่ต้องนำพยานเข้าสืบ และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพดังกล่าวได้ ทั้งเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ กับเคยต้องโทษจำคุกและพ้นโทษในคดีอื่นๆ อีก 6 คดี ซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือนในความผิดฐานลักทรัพย์และจำเลยกระทำผิดในขณะที่มีอายุเกินกว่าสิบแปดปี จำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวแล้ว ภายในเวลาสิบปีจำเลยมากระทำผิดคดีนี้ฐานลักทรัพย์ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่าหกเดือนอีก จึงเข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลชั้นต้นจะนำมาพิจารณากักกันจำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 41 (8) ได้


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2515
ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลย และให้เพิ่มโทษตามมาตรา93 กึ่งหนึ่งกับลดโทษตามมาตรา 78 กึ่งหนึ่ง ดังนี้ส่วนของการเพิ่มเท่ากับส่วนของการลด ศาลมีอำนาจใช้ ดุลพินิจเห็นสมควรไม่เพิ่มไม่ลดโทษที่กำหนดไว้นั้นได้ ตามมาตรา 54 ประมวลกฎหมายอาญา จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าส่วนของการเพิ่มน้อยกว่าส่วนของการลด ถ้าหากเพิ่มโทษ เสียก่อนแล้วลดในภายหลัง
จำเลยพ้นจากการกักกันภายหลังวันที่ 13 พฤษภาคม 2500ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ใช้บังคับย่อมไม่ได้รับผลการล้างมลทินตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเลยอาจถูกพิพากษาให้กักกันในฐานที่เป็นผู้เคยถูกศาลพิพากษาให้กักกันมาแล้วได้


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2515
ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลย และให้เพิ่มโทษตามมาตรา 93 กึ่งหนึ่งกับลดโทษตามมาตรา 78 กึ่งหนึ่ง ดังนี้ ส่วนของการเพิ่มเท่ากับส่วนของการลด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจเห็นสมควรไม่เพิ่มไม่ลดโทษที่กำหนดไว้นั้นได้ ตามมาตรา 54 ประมวลกฎหมายอาญาจำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าส่วนของการเพิ่มน้อยกว่าส่วนของการลดถ้าหากเพิ่มโทษเสียก่อนแล้วลดในภายหลัง
จำเลยพ้นจากการกักกันภายหลังวันที่ 13 พฤษภาคม 2500 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ใช้บังคับย่อมไม่ได้รับผลการล้างมลทินตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเลยอาจถูกพิพากษาให้กักกันในฐานที่เป็นผู้เคยถูกศาลพิพากษาให้กักกันมาแล้วได้
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท