Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 40 หรือ มาตรา 40 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 40 ” หรือ “มาตรา 40 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “กักกัน คือการควบคุมผู้กระทำความผิดติดนิสัยไว้ภายในเขตกำหนด เพื่อป้องกันการกระทำความผิด เพื่อดัดนิสัย และเพื่อฝึกหัดอาชีพ”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 40” หรือ “มาตรา 40 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2507
แม้จำเลยจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้ลดโทษลงเพียงใด ถึงขั้นปล่อยตัวไปก็ตาม คำพิพากษาของศาลที่กำหนดโทษไว้เดิมนั้นก็หาได้ถูกลบล้างไปไม่
การที่ศาลทหารกล่าวไว้ในคำพิพากษาให้ยกคำขอที่ขอให้กักกันจำเลยเพราะไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารนั้น หาตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องขอให้กักกันจำเลยต่อศาลทีมีอำนาจไม่


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2507
จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ได้ฉีดยาให้บุคคลหนึ่งโดยประมาทเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายนั้น เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์ไม่ฟ้องจำเลยตามฐานความผิดทุกบทกฎหมายเสียในคดีเดียวกัน กลับเลือกฟ้องจำเลยฐานประกอบโรคศิลปไม่รับอนุญาตจนศาลพิพากษาลงโทษไปแล้ว ก็ได้ชื่อว่าความผิดของจำเลยซึ่งได้ฟ้องนั้นมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยฐานทำให้คนตายโดยประมาทอีก มิฉะนั้น ความผิดกรรมเดียวของจำเลยก็จะถูกพิจารณาสองซ้ำสองหนไม่ชอบกฎหมาย


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2507
ก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479 มาตรา 5 บัญญัติให้ถือกักกันเป็นโทษอาญาสถานหนึ่ง เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 15 ให้เปลี่ยนโทษกักกันมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยโทษกักกันจึงไม่ใช่โทษอาญาเสียแล้ว แต่บทบัญญัติมาตรา 15 นี้ย่อมไม่ย้อนหลังไปบังคับถึงโทษกักกันที่ได้เสร็จสิ้นพ้นโทษไปแล้ว
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกันมีกำหนด 3 ปี พ้นโทษไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2498 ก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 และก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ โทษกักกันที่จำเลยได้รับเสร็จสิ้นไปแล้วก่อนประมวลกฎหมายอาญาออกใช้ ก็คงถือเป็นโทษอยู่ ย่อมได้รับการล้างมลทินโดยพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 มาตรา 3 จะกักกันจำเลยโดยอาศัยเหตุที่จำเลยเคยถูกกักกันมาแล้วตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 อีกหาได้ไม่
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท