Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 39 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 39 หรือ มาตรา 39 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 39 ” หรือ “มาตรา 39 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “วิธีการเพื่อความปลอดภัย มีดังนี้
              (๑) กักกัน
              (๒) ห้ามเข้าเขตกำหนด
              (๓) เรียกประกันทัณฑ์บน
              (๔) คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล
              (๕) ห้ามการประกอบอาชีพบางอย่าง”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 39” หรือ “มาตรา 39 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2563
การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบขับขี่ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ไม่ใช่โทษที่ใช้สำหรับลงโทษผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 18 หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามมาตรา 39 แต่ก็มีบทบังคับเช่นเดียวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยด้วยเจตนาคุ้มครองประชาชนหรือสังคมเพื่อป้องกันมิให้ผู้ถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ก่อความเสียหายแก่ผู้อื่น โดยเป็นการป้องปรามไม่ให้ผู้ขับขี่ไปกระทำความผิดอีก ทั้งตามนิยามของคำว่า รถ ใน พ.ร.บ.การจราจรทางบก มาตรา 4 (15) ก็ให้คำนิยามว่า รถ หมายถึง ยานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถราง ดังนั้น รถจักรยานยนต์และรถยนต์อยู่ในความหมายของคำว่า รถ ด้วย โดยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตจะอยู่ในลักษณะ 19 บทกำหนดโทษ ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงยานพาหนะชนิดใดชนิดหนึ่งไว้โดยเฉพาะ แต่เป็นการกล่าวถึงการขับขี่ยานพาหนะที่มีลักษณะเป็นการกระทำความผิดแล้วให้ศาลมีคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่เพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดไปยุ่งเกี่ยว ควบคุม ยานพาหนะทั้งหมดที่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่ ดังนั้นศาลจึงต้องพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ไม่ว่าใบอนุญาตขับขี่นั้นจะเกี่ยวข้องกับยานพาหนะที่ผู้กระทำความผิดขับขี่ในขณะกระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม แม้จำเลยมีใบอนุญาตขับขี่รถคนละประเภทกับรถที่จำเลยขับขณะกระทำความผิด ศาลก็มีอำนาจพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยได้


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2546
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2512 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม2512 จำเลยบุกรุกเข้ายึดถือครอบครองที่ดินหนองกก ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา ปลูกบ้านอยู่อาศัยและปลูกต้นไม้คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2541 จำเลยได้เข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างที่ดินเลี้ยงสัตว์หนองกกสาธารณประโยชน์ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน รวมเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ โดยใช้รถไถเข้าไปไถปรับที่ดินเพื่อทำประโยชน์ แม้คดีก่อนศาลฎีกาจะพิพากษายกคำขอให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทแต่ก็ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ซึ่งจำเลยเข้ายึดถือครอบครองหลังจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้ว เป็นการครอบครองสืบเนื่องมาก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2514 ใช้บังคับ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ส่วนคดีนี้จำเลยใช้รถไถเข้าไปไถปรับที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2541 โดยไม่มีสิทธิครอบครองและมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9(1),108 ทวิ วรรคสองซึ่งเป็นการกระทำหลังจากวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์2514 มีผลใช้บังคับ การกระทำจึงต่างกรรมต่างวาระแยกต่างหากจากการกระทำในคดีก่อน และความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 กับมาตรา 108 ทวิมีองค์ประกอบแตกต่างกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7607/2542
คดีความผิดต่อส่วนตัวจำเลยที่ 3 ฎีกาแต่ผู้เดียว ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ยื่นคำร้อง ขอถอนฟ้อง เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่คัดค้าน ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยได้และสิทธินำ คดีอาญามาฟ้องย่อมระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดี
วินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 2870/2541
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท