Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 372 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 372 หรือ มาตรา 372 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 372 ” หรือ “มาตรา 372 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๕๘] “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 372” หรือ “มาตรา 372 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2515
คำฟ้องในข้อหาความผิดฐานทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะหรือ สาธารณสถาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 372 ไม่เคร่งครัดถึงกับต้องบรรยายใช้ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายเสมอไป เมื่ออ่านคำฟ้องทั้งหมดพอเข้าใจได้ว่าเป็นการทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะหรือสาธารณสถานแล้ว ก็เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2508
ที่เกิดเหตุเป็นร้านค้าและเป็นที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้จึงเป็นสาธารณสถานตามมาตรา 1(3) เมื่อจำเลยทะเลาะกันอื้ออึงในสาธารณสถานจึงเป็นผิดมาตรา 372 ข้อที่ว่าที่เกิดเหตุเป็นเคหสถานหรือไม่ หาใช่ประเด็นแห่งคดีไม่
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฝ่ายหนึ่ง จำเลยที่ 3 ถึงที่8 อีกฝ่ายหนึ่ง ทะเลาะกันอื้ออึงในสาธารณสถาน ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เพียงแต่เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ถึง ที่ 8 เป็นจำเลยต่อศาลอาญา(ฐานบุกรุกทำร้ายร่างกาย) ในคดีเกี่ยวพันกันนี้โดยในชั้นนี้ศาลอาญาเพียงแต่รับฟ้องไว้พิจารณา ย่อมไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกผู้ว่าคดีฯ ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแขวงซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจชำระในความผิด(ฐานทะเลาะกันอื้ออึงในสาธารณสถาน) ซึ่งมีอัตราโทษต่ำกว่าและมิใช่เป็นกรณีตามมาตรา 24 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งศาลแขวงฯ มิได้ตกลงกับศาลอาญาสั่งให้ไปฟ้องยังศาลอาญาตามมาตรา 25 ส่วนมาตรา24 วรรคสาม บัญญัติถึงความผิดอันเกี่ยวพันกัน มีอัตราโทษอย่างสูงเสมอกัน ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคดีนี้


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2508
ที่เกิดเหตุเป็นร้านค้าและเป็นที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ จึงเป็นสาธารณสถานตามมาตรา 1(3) เมื่อจำเลยทะเลาะกันอื้ออึงในสาธารณสถานจึงเป็นผิดมาตรา 372 ข้อที่ว่าที่เกิดเหตุเป็นเคหสถานหรือไม่ หาใช่ประเด็นแห่งคดีไม่
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฝ่ายหนึ่ง จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 อีกฝ่ายหนึ่ง ทะเลาะกันอื้ออึงในสาธารณสถาน ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เพียงแต่เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 เป็นจำเลยต่อศาลอาญา (ฐานบุกรุกทำร้ายร่างกาย) ในคดีเกี่ยวพันกันนี้โดยในชั้นนี้ศาลอาญาเพียงแต่รับฟ้องไว้พิจารณา ย่อมไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกผู้ว่าคดี ฯ ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแขวงซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจชำระในความผิด (ฐานทะเลาะกันอื้ออึงในศาธารณสถาน) ซึ่งมีอัตราโทษต่ำกว่าและมิใช่เป็นกรณีตามมาตรา 24 วรรค 2 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งศาลแขวง ฯ มิได้ตกลงกับศาลอาญาสั่งให้ไปฟ้องยังศาลอาญาตามมาตรา 25 ส่วนมาตรา 24 วรรค 3 บัญญัติถึงความผิดอันเกี่ยวพันกัน มีอัตราโทษอย่างสูงเสมอกัน ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคดีนี้
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท