Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 371 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 371 หรือ มาตรา 371 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 371 ” หรือ “มาตรา 371 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๕๘] “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 371” หรือ “มาตรา 371 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2564
โจทก์บรรยายฟ้องว่าก่อนคดีนี้ จำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 7 ปี 18 เดือน และปรับ 400,000 บาท ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ฐานมีและพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 255/2556 และจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน นับโทษจำคุกต่อในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 255/2556 ในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 254/2556 จำเลยพ้นโทษทั้งสองคดีดังกล่าวแล้ว ภายหลังพ้นโทษจำเลยกลับมากระทำความผิดเป็นคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ ซึ่งคดีก่อนและคดีนี้มิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และมิใช่ความผิดซึ่งจำเลยได้กระทำในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ขอศาลเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยหนึ่งในสามของโทษสำหรับความผิดในคดีนี้ และในคำขอท้ายฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ, 72 ทวิ ป.อ. มาตรา 90, 92, 371, ดังนี้คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวถึงข้อที่ว่าจำเลยต้องคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้ว และจำเลยมากระทำความผิดในคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ อันจะเป็นเหตุให้ถูกเพิ่มโทษ และโจทก์ได้อ้างบทบัญญัติซึ่งเป็นเรื่องเพิ่มโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องจะมิได้ระบุขอให้เพิ่มโทษจำเลยไว้อีกก็ตาม ถือได้ว่าโจทก์ได้ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพกับรับว่าเคยต้องโทษและพ้นโทษมาแล้วจริงตามฟ้อง ย่อมแสดงว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในคำขอให้เพิ่มโทษด้วย จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 92 หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2564
ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง บัญญัติเพียงว่า เฉพาะคดีความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนได้จะต้องมีคำร้องทุกข์เสียก่อน เมื่อคดีความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอาญาแผ่นดินทุกฐานความผิด พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนโดยลำพังตนเองหากพบว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น โดยเฉพาะคดีนี้ ผู้เสียหายโทรศัพท์แจ้งเหตุต่อพนักงานสอบสวน เท่ากับว่าได้มีการกล่าวโทษซึ่งทำให้พนักงานสอบสวนทราบว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจเริ่มต้นการสอบสวนได้ในทันทีด้วยการออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 130 บัญญัติไว้ ถือได้ว่าคดีนี้มีการสอบสวนในความผิดตามฟ้องโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2563
การที่จำเลยหยิบมีดปอกผลไม้ปลายแหลมมาจากห้องครัวภายในร้านที่เกิดเหตุและใช้แทงผู้ตายบริเวณด้านหน้าร้านภายในบริเวณร้านที่เกิดเหตุ ยังมิได้ออกไปนอกร้านสู่ทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท