Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 37 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 37 หรือ มาตรา 37 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 37 ” หรือ “มาตรา 37 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าผู้ที่ศาลสั่งให้ส่งทรัพย์สินที่ริบไม่ส่งภายในเวลาที่ศาลกำหนด ให้ศาลมีอำนาจสั่งดังต่อไปนี้
              (๑) ให้ยึดทรัพย์สินนั้น
              (๒) ให้ชำระราคาหรือสั่งยึดทรัพย์สินอื่นของผู้นั้นชดใช้ราคาจนเต็ม หรือ
              (๓) ในกรณีที่ศาลเห็นว่า ผู้นั้นจะส่งทรัพย์สินที่สั่งให้ส่งได้ แต่ไม่ส่ง หรือชำระราคาทรัพย์สินนั้นได้ แต่ไม่ชำระ ให้ศาลมีอำนาจกักขังผู้นั้นไว้จนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่ง แต่ไม่เกินหนึ่งปี แต่ถ้าภายหลังปรากฏแก่ศาลเอง หรือโดยคำเสนอของผู้นั้นว่า ผู้นั้นไม่สามารถส่งทรัพย์สินหรือชำระราคาได้ ศาลจะสั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไปก่อนครบกำหนดก็ได้”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 37” หรือ “มาตรา 37 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2544
การเลี้ยงกุ้งกุลาดำมิใช่เป็นความผิดในตัวเองหากแต่จะมีความผิดเฉพาะเป็นการเข้าไปเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตที่มีคำสั่งห้ามเลี้ยงเท่านั้น จำเลยเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดในเขตที่มีคำสั่งห้ามเลี้ยงในช่วงระยะเวลาคาบเกี่ยวระยะเวลาที่ผ่อนผันให้เลี้ยง ฉะนั้น เครื่องสูบน้ำ ใบพัดพลาสติก และท่อเหล็กจึงมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดมาแต่เริ่มแรก หากแต่ใช้จนเลยกำหนดระยะเวลาผ่อนผันไปบ้างเท่านั้น ที่ศาลล่างใช้ดุลพินิจไม่ริบ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2511
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยไม่ปฏิบัติตามประกาศพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งให้ผู้ประกอบการค้าข้าวทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จสิ้นในวันรุ่งขึ้น. และคำขอตามฟ้องส่วนหนึ่งขอให้สั่งคืนหรือใช้ราคาข้าวจำนวนที่จำเลยได้จำหน่ายไปเสียก่อนแล้ว. เมื่อปรากฏว่าข้าวจำนวนนี้จำเลยได้จำหน่ายไปแล้ว. ก็ไม่มีข้าวที่ศาลจะสั่งริบได้. และจึงไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจะสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาข้าวจำนวนนี้แก่แผ่นดินตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่ด้วย.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2511).


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2511
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยไม่ปฏิบัติตามประกาศพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งให้ผู้ประกอบการค้าข้าวทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จสิ้นในวันรุ่งขึ้น และคำขอตามฟ้องส่วนหนึ่งขอให้สั่งคืนหรือใช้ราคาข้าวจำนวนที่จำเลยได้จำหน่ายไปเสียก่อนแล้ว เมื่อปรากฏว่าข้าวจำนวนนี้จำเลยได้จำหน่ายไปแล้ว ก็ไม่มีข้าวที่ศาลจะสั่งริบได้ และจึงไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจะสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาข้าวจำนวนนี้แก่แผ่นดินตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่ด้วย(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2511)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท