Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 369 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 369 หรือ มาตรา 369 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 369 ” หรือ “มาตรา 369 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ประกาศ ภาพโฆษณา หรือเอกสารใดที่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดหรือแสดงไว้ หรือสั่งให้ปิด หรือแสดงไว้ หลุดฉีกหรือไร้ประโยชน์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๕๘] “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 369” หรือ “มาตรา 369 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2537
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 369 มิได้บัญญัติว่าการกระทำผิดตามมาตรานี้ต้องกระทำแก่ประกาศภาพโฆษณาหรือเอกสารใดที่ปิดหรือแสดงหรือโฆษณาต่อประชาชนเท่านั้น แม้คำสั่งของ ล.เจ้าอาวาสซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ได้ออกคำสั่งเฉพาะแก่พระครู ส. เพียงรูปเดียว คำสั่งที่ออกไปนั้นถือเป็นเอกสารที่ได้มีการปิดหรือแสดงไว้ตามที่บัญญัติใน มาตรา 369 แล้ว การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ล. ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ. เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายได้ออกคำสั่งเป็นหนังสือโดยนำหนังสือคำสั่งไปปิดและแสดงไว้ที่กุฏิพระครู ส. เพื่อให้พระครูส.ซึ่งไม่อยู่ในโอวาท ของผู้เสียหายได้รับทราบคำสั่ง และออกไปจากวัด บ. ภายใน 7 วัน อันเป็นการกระทำตามหน้าที่ จำเลยได้บังอาจแกะ ฉีก หนังสือ คำสั่งดังกล่าวทิ้งอันเป็นการทำลายเอกสารซึ่งเจ้าพนักงาน ผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดแสดงไว้หลุดฉีก เสียหายไร้ประโยชน์ ดังนี้เป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 369 แล้ว ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) โจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องว่า คำสั่งเป็นหนังสือดังกล่าวนั้นได้ปิดหรือแสดงไว้ในลักษณะทำนองประกาศหรือโฆษณาต่อประชาชน เพราะประมวลกฎหมายอาญามาตรา 369 ไม่ได้บัญญัติไว้เช่นนั้น


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2537
การบรรยายฟ้องตาม ป.อ. มาตรา 369 ไม่จำต้องบรรยายว่า คำสั่งเป็นหนังสือนั้นได้ปิดหรือแสดงไว้ในลักษณะทำนองประกาศหรือโฆษณาต่อประชาชน เพราะบทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 369 มิได้บัญญัติว่าการกระทำผิดตามมาตรานี้ต้องกระทำแก่ประกาศ ภาพโฆษณาหรือเอกสารใดที่ปิดหรือแสดงหรือโฆษณาต่อประชาชน ดังนั้น แม้คำสั่งของพระอธิการ ล. เจ้าอาวาส ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ได้ออกคำสั่งเฉพาะแก่พระครู ส. เพียงรูปเดียวก็เป็นเอกสารตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 369 แล้ว


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2506
คำว่า เอกสาร ที่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดหรือแสดงไว้ตามมาตรา 369 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้น หมายถึงเอกสารที่ปิดหรือแสดงไว้ในลักษณะทำนองประกาศหรือภาพโฆษณา หาได้หมายถึงคำสั่งหรือใบสั่งถึงบุคคลเฉพาะตัวเช่นใบสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจจราจรที่ให้ไปรายงานตัวไม่ฉะนั้น เมื่อจำเลยได้รับใบสั่งดังกล่าวก็ถือว่าหนังสือนั้นได้ใช้สมประโยชน์ตามนั้นแล้ว ถึงจำเลยจะฉีกทำลายเสียก็หามีความผิดตามมาตรานี้ไม่
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท