Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 363 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 363 หรือ มาตรา 363 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 363 ” หรือ “มาตรา 363 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ใดเพื่อถือเอาอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม ยักย้ายหรือทำลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐] “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 363” หรือ “มาตรา 363 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2538
จำเลยสั่งให้ ท. กับพวกรื้อรั้วซึ่งเป็นเครื่องหมายเขตแห่งที่ดินและเข้าไปปิดกั้นรั้วของโจทก์ร่วมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7992 โดย ท. กับพวกทำตามคำสั่งของจำเลยโดยไม่มีเจตนาร่วมกระทำความผิดด้วย กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดฐานทำลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์ และเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมเพื่อถือเอาที่ดินบางส่วนตามโฉนดเลขที่ 7992 ของโจทก์ร่วมเป็นของจำเลย อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยปกติสุข ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362และ 363 โดยจำเลยใช้ ท. กับพวกเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2538
จำเลยสั่งให้ ท.กับพวกรื้อรั้วซึ่งเป็นเครื่องหมายเขตแห่งที่ดินและเข้าไปปิดกั้นรั้วของโจทก์ร่วมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7992 โดย ท.กับพวกทำตามคำสั่งของจำเลยโดยไม่มีเจตนาร่วมกระทำความผิดด้วย กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดฐานทำลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์ และเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมเพื่อถือเอาที่ดินบางส่วนตามโฉนดเลขที่ 7992ของโจทก์ร่วมเป็นของจำเลย อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยปกติสุข ตาม ป.อ.มาตรา 362 และ 363 โดยจำเลยใช้ ท.กับพวกเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2532
การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งให้บุคคลใดออกไปจากที่ดินของรัฐนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาว่า บุคคลดังกล่าวได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ แล้ว เมื่อที่พิพาทยังไม่อาจฟังได้แน่ชัดว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์และจำเลยยึดถือครอบครองอยู่โดยเชื่อว่าตนมีสิทธิครอบครองต่อจากบิดา จึงไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้ การที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอเพราะเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันกับที่วินิจฉัยมาแล้วว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 แม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา215 และ 225.
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท