Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 355 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 355 หรือ มาตรา 355 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 355 ” หรือ “มาตรา 355 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดเก็บได้ซึ่งสังหาริมทรัพย์อันมีค่า อันซ่อนหรือฝังไว้โดยพฤติการณ์ซึ่งไม่มีผู้ใดอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐] “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 355” หรือ “มาตรา 355 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2509
เทวรูปหินอ่อนรูปนารายณ์สี่กร เป็นของโบราณราคาแพง ฝังอยู่ใต้ดินบริเวณปราสาทโบราณ เป็นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุจำเลยขุดได้และเบียดบังเอาเสีย จึงผิดพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ.2504 มาตรา 31
แต่เทวรูปนั้นไม่มีคุณค่าเป็นพิเศษ จึงไม่ใช่สังหาริมทรัพย์อันมีค่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 355

จำเลยขายเทวรูปนั้นไป เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุตามพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ.2504 มาตรา 19
เทวรูปนี้เป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 24 แล้ว ศาลจึงไม่ต้องสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 อีก(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2509)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2509
เทวรูปหินอ่อนรูปนารายณ์สี่กร เป็นของโบราณราคาแพง ฝังอยู่ใต้ดินบริเวณปราสาทโบราณ เป็นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ จำเลยขุดได้และเบียดบังเอาเสีย จึงผิดพระราชบัญญัติโบราณสถาน ฯ พ.ศ. 2504 มาตรา 31
แต่เทวรูปนั้นไม่มีคุณค่าเป็นพิเศษ จึงไม่ใช่สังหาริมทรัพย์อันมีค่าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 355
จำเลยขายเทวรูปนั้นไป เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปะวัตถุตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน พ.ศ. 2504 มาตรา 19
เทวรูปนี้เป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 24 แล้ว ศาลจึงไม่ต้องสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 อีก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2509)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2502
จำเลยเก็บกระเป๋าใส่เงินของเจ้าทรัพย์ซึ่งเหน็บไว้ที่เอวแล้วเลื่อนหลุดไปจากเอวในขณะนั่งดูภาพยนต์อยู่ใกล้เคียงกันในโรงภาพยนต์นั้นถือว่าทรัพย์นั้นยังอยู่ในความยึดถือของเจ้าทรัพย์ ไม่ใช่เป็นทรัพย์ที่อยู่ในสภาพของตกของหายเมื่อจำเลยเอาไปเสีย ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท