Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 35 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 35 หรือ มาตรา 35 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 35 ” หรือ “มาตรา 35 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ทรัพย์สินซึ่งศาลพิพากษาให้ริบให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่ศาลจะพิพากษาให้ทำให้ทรัพย์สินนั้นใช้ไม่ได้หรือทำลายทรัพย์สินนั้นเสียก็ได้”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 35” หรือ “มาตรา 35 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2554
ผู้ร้องให้จำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไปโดยไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดของจำเลย จึงต้องคืนรถจักรยานยนต์ให้แก่ผู้ร้อง การที่ผู้ร้องไม่ใช้สิทธิทางแพ่งกับจำเลยและร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืน เป็นเพียงการไม่ถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญาที่กำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งเป็นสิทธิที่ผู้ร้องจะใช้หรือไม่ก็ได้และเมื่อจำเลยผิดสัญญา ผู้ร้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของกลางที่ให้เช่าซื้อคืนได้ กรณียังไม่พอฟังว่าเป็นการช่วยเหลือจำเลยมิให้ต้องรับโทษเต็มตามคำพิพากษา อันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตแต่อย่างใดเพราะกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11277/2553
ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 หมายถึง เจ้าของทรัพย์สินขณะที่มีการกระทำความผิด มิใช่เจ้าของทรัพย์สินหลังการกระทำความผิด คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ร้องเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจากผู้ให้เช่าซื้อตั้งแต่ก่อนศาลชั้นต้นสั่งริบรถจักรยานยนต์ของกลาง แต่ผู้ร้องรับโอนกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์ของกลางภายหลังเวลาที่จำเลยกระทำความผิดและศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางให้ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นอันถึงที่สุด และกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2546
เดิมบริษัทเงินทุน ท. เป็นเจ้าของรถยนต์ให้จำเลยเช่าซื้อเมื่อวันที่ 1 เมษายน2540 จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2541 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถยนต์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 และผู้ร้องซื้อทรัพย์สินประเภทสัญญาเช่าซื้อจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินในนามและแทนบริษัทเงินทุน ท. เมื่อวันที่30 กรกฎาคม 2541 แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 188 จะบัญญัติว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป"แต่การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถยนต์ ก็ยังไม่ทำให้รถยนต์ตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 35 ทันที เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด ดังนั้นในระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุด บริษัทเงินทุน ท. ย่อมมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้แก่ผู้ร้องได้โดยชอบและไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์หลังจากคดีถึงที่สุดแล้วได้ภายในกำหนด 1 ปี แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องเกิน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ประกอบกับพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 มาตรา 25 ก็มิได้บัญญัติยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติการขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบไว้
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท