Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 34 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 34 หรือ มาตรา 34 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 34 ” หรือ “มาตรา 34 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “บรรดาทรัพย์สิน
              (๑) ซึ่งได้ให้ตามความในมาตรา ๑๔๓ มาตรา ๑๔๔ มาตรา ๑๔๙ มาตรา ๑๕๐ มาตรา ๑๖๗ มาตรา ๒๐๑ หรือมาตรา ๒๐๒ หรือ
              (๒) ซึ่งได้ให้เพื่อจูงใจบุคคลให้กระทำความผิด หรือเพื่อเป็นรางวัลในการที่บุคคลได้กระทำความผิด
              ให้ริบเสียทั้งสิ้น เว้นแต่ทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 34” หรือ “มาตรา 34 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5883/2541
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 144, 33และให้ริบเงินสดของกลางที่จำเลยได้ให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้เจ้าพนักงานปล่อยตัวจำเลยไป โดยไม่ต้องนำส่งพนักงานสอบสวน การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186(9) ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องและพิพากษาให้ริบของกลางได้ ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2524
การริบทรัพย์ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 27 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร กับการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา กรณีไม่เหมือนกัน โดยการริบทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญากฎหมายให้อำนาจศาลจะสั่งริบ แต่มีข้อยกเว้นว่าถ้าเป็นทรัพย์ผู้อื่นมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ผู้นั้นมีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งคืนได้ แต่การริบตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นการริบตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ที่รัฐบาลจะสั่งริบโดยไม่คำนึงว่าเป็นของผู้กระทำผิดหรือไม่ หรือเจ้าของจะรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นหรือไม่ คำสั่งของนายกรัฐมนตรีดังกล่าวจึงเป็นอันเสร็จเด็ดขาด จะนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญามาใช้ไม่ได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2521
แม้พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 29 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 มาตรา 47 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2515 ข้อ 18 จะบัญญัติไว้ทำนองเดียวกันว่าบรรดาอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้ ฯลฯ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำผิดฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษฯ หรือไม่ก็ตามก็มิได้บัญญัติมีข้อความระบุถึง กรณีที่เจ้าของทรัพย์สินมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จะตีความว่าบทบัญญัติดังกล่าว มีความมุ่งหมายให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดไม่ได้กรณีต้องตกอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 คือผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงมีสิทธิร้องขออาวุธปืนของกลางคืนได้
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท