Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 332 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 332 หรือ มาตรา 332 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 332 ” หรือ “มาตรา 332 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง
              (๑) ให้ยึด และทำลายวัตถุหรือส่วนของวัตถุที่มีข้อความหมิ่นประมาท
              (๒) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 332” หรือ “มาตรา 332 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2557
ป.อ. มาตรา 332 (2) ให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำขออภัยด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 โฆษณาคำขออภัยโจทก์จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 2 นอกเหนือจากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ต้องห้ามตาม ป.อ มาตรา 2 วรรคหนึ่ง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2542
ข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณาว่าโจทก์เรียกเงิน 5 ล้าน ในการถ่ายภาพนู้ด นั้น จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความ จริงอันใดเลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่มีข้อความ ที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์ แต่กลับ เป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 มุ่งประสงค์ใส่ความ เพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริง เข้าใจผิด ดูหมิ่น เกลียดชังโจทก์ อันส่งผลกระทบต่อเกียรติยศและสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติ ชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่ จึงเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับการยกเว้นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 การที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332 กำหนดให้คดี หมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง (2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์ หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลย เป็นผู้ชำระค่าโฆษณานั้นเป็นการให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณา คำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณา คำขออภัยด้วย ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากโทษ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคหนึ่ง ทั้งการที่สั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษา ของศาลทั้งหมดนั้นก็เกินความจำเป็น สมควรให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษาของศาลโดยย่อพอได้ใจความ โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า บริษัท ข.จำเลยที่ 2 เป็นผู้ใส่ความโจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำ ความผิดหรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ดังนั้น ลำพังแต่เพียงได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและ จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป จึงไม่พอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2539
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332 ศาลจะให้ โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษามิได้ระบุให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งฉบับในหนังสือพิมพ์การที่จำเลยโฆษณาคำพิพากษาแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์โดยมีข้อความว่า จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองและคดีถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ตรงตามคำพิพากษาแล้ว
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท