Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 33 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 33 หรือ มาตรา 33 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 33 ” หรือ “มาตรา 33 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ
              (๑) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ
              (๒) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด
              เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 33” หรือ “มาตรา 33 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2564
ป.อ. มาตรา 336 ทวิ บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ต้องรับโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้อีกกึ่งหนึ่ง กรณีที่มียานพาหนะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดสามกรณีคือ ผู้กระทำความผิดใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมเท่านั้น มิใช่บัญญัติให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด จำเลยทั้งสองกับพวกลักทรัพย์ลวดทองแดงสำเร็จแล้ว จึงนำลวดทองแดงของผู้เสียหายที่ลักมาซุกซ่อนบรรทุกในรถกระบะของกลางพาลวดทองแดงนั้นไป รถกระบะของกลางจึงไม่ใช่เครื่องมือหรือเป็นส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์อันเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงและไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด อันจะพึงริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2564
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 เพียงว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันให้ผู้เสียหายทำสัญญาซื้อขายทองรูปพรรณสร้อยคอทองคำลายโซ่กลม ในลักษณะผ่อนชำระรายงวด อันเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 (1) มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองอำพรางการให้กู้ยืมเงินโดยกำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่น ๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืมเพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 4 (2) แต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 (2) ด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งเสื้อคลุม 2 ตัว ซึ่งปักชื่อบริษัท น. จำเลยทั้งสองใช้สวมใส่เพื่อแสดงตนว่าเป็นพนักงานของบริษัท น. ส่วนรถจักรยานยนต์เป็นเพียงยานพาหนะใช้เพื่อความสะดวกในการเดินทาง จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงอันศาลจะใช้ดุลพินิจพิพากษาให้ริบได้


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4038/2563
จำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางพาผู้เสียหายไปยังที่เกิดเหตุ จากนั้นใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้เสียหายตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แล้วข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย เป็นความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารและฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นเพียงพาหนะที่ใช้พาไปยังที่เกิดเหตุเท่านั้น ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงไม่อาจริบได้
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท