Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 321 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 321 หรือ มาตรา 321 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 321 ” หรือ “มาตรา 321 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ความผิดตามมาตรา ๓๐๙ วรรคแรก มาตรา ๓๑๐ วรรคแรก และมาตรา ๓๑๑ วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้
การกระทำความผิดตามมาตรา ๓๑๒ ตรี วรรคสอง และมาตรา ๓๑๗ หากเป็นการกระทำต่อเด็กอายุไม่เกินสิบสามปี ห้ามอ้างความไม่รู้อายุของเด็กเพื่อให้พ้นจากความผิดนั้น “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 321” หรือ “มาตรา 321 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2559
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กลุ่มคนชมรม ค. กระทำความผิดในคดีนี้ โดยบรรยายครบองค์ประกอบความผิดในแต่ละข้อหา จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว โดยหาจำต้องระบุตัวบุคคลผู้ถูกใช้หรือลงมือกระทำความผิดไม่
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 ที่ได้กระทำโดยมีอาวุธและโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตามวรรคสอง ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ตาม ป.อ. มาตรา 321 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 358 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้นั้น แม้จะได้ความว่าฝ่ายโจทก์ตกลงยอมความกับจำเลยที่ 2 แต่ไม่ปรากฏว่าฝ่ายโจทก์ได้ตกลงให้ความผิดของจำเลยที่ 1 ระงับไปด้วย ความผิดของจำเลยที่ 1 จึงหาระงับไปไม่


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22714/2555
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในข้อหาข่มขืนใจผู้อื่น โดยมีอาวุธ ตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดข้อหาข่มขืนใจผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก โจทก์มิได้อุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง ความผิดดังกล่าวจึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้เพียงว่า จำเลยกระทำความผิดข้อหาข่มขืนใจผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 321 เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งในความดูแลของ ค. บิดาผู้เสียหาย หรือผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ อันจะทำให้ ค. เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 การที่ ค. ไปแจ้งความร้องทุกข์จึงไม่ชอบ ถือได้ว่าไม่มีคำร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดดังกล่าว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120, 121


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2537
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารตามมาตรา 278 กระทงหนึ่ง ฐานร่วมกันกระทำผิดต่อเสรีภาพและฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง,310 วรรคแรก,83เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานกระทำผิดต่อเสรีภาพ ตามมาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดอีกกระทงหนึ่ง จำเลยฎีกา คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้เสียหายยื่นคำร้องมีข้อความว่าผู้เสียหายไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทุกข้อหา ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะความผิดตามมาตรา 278 และ 310 วรรคแรก ออกจากสารบบความคงมีปัญหาที่ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยเพียงว่า จำเลยกระทำผิดตามมาตรา 309 วรรคสอง หรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 309 วรรคแรก เท่านั้นซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้ และคดียังไม่ถึงที่สุดการที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องมีข้อความดังกล่าวนั้นถือได้ว่าเป็นการยอมความกันในความผิดที่ศาลฎีกาวินิจฉัยนี้ด้วย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) ศาลฎีกาต้องพิพากษายกฟ้อง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท