Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 317 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 317 หรือ มาตรา 317 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 317 ” หรือ “มาตรา 317 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
              ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวเด็กซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น
              ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐] “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 317” หรือ “มาตรา 317 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2565
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยลำพังพรากผู้เสียหายที่ 2 ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 1 ผู้ปกครอง เพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิด ก็มิใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ เมื่อจำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความได้


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2565
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ภายในบ้านพักที่ผู้เสียหายที่ 2 พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 1 แม้หลังจากจำเลยกระทำชำเราและออกจากบ้านพักดังกล่าวแล้ว จำเลยเรียกให้ผู้เสียหายที่ 2 ออกจากบ้านเพื่อให้เงินและมีการโอบกอดผู้เสียหายที่ 2 แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่อเนื่องกันในบริเวณบ้านที่เกิดเหตุนั้นเอง จำเลยมิได้พาผู้เสียหายที่ 2 ไปที่อื่นอันเป็นการพาไปหรือแยกออกไปจากอำนาจปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 1 ที่ทำให้อำนาจปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 1 ถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน ยังไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 167/2565
จำเลยรับผู้เสียหายที่ 1 มาที่บ้านของจำเลยเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 19 นาฬิกา แล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 แม้เวลา 24 นาฬิกา ผู้เสียหายที่ 1 ออกไปค้างคืนที่บ้านของ น. แต่ก็กลับมาที่บ้านของจำเลยอีกในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 6 นาฬิกา แล้วจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 อีก อันเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อการอนาจารเช่นเดิม จนเวลา 13 นาฬิกา จำเลยจึงพาผู้เสียหายที่ 1 ไปส่งที่บ้านของ ส. โดยตั้งแต่จำเลยรับผู้เสียหายที่ 1 มาจนพากลับไปส่งดังกล่าว ผู้เสียหายที่ 1 ยังไม่ได้กลับบ้านไปหาผู้เสียหายที่ 2 การที่จำเลยชักชวนผู้เสียหายที่ 1 กลับมาที่บ้านของจำเลยในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 จึงไม่เป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากการดูแลของผู้เสียหายที่ 2 อีกเป็นครั้งที่สอง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท