Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 315 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 315 หรือ มาตรา 315 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 315 ” หรือ “มาตรา 315 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดกระทำการเป็นคนกลาง โดยเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างใดที่มิควรได้จากผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๑๓ หรือจากผู้ที่จะให้ค่าไถ่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐] “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 315” หรือ “มาตรา 315 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2529
จำเลยที่1กับจำเลยคนอื่นร่วมกันจับตัวผู้เสียหายไปเพื่อเรียกค่าไถ่ขณะที่บุตรชายของผู้เสียหายนำเงินค่าไถ่ไปให้จำเลยที่1มีจำเลยที่2และจำเลยที่4ซึ่งเป็นภรรยาของจำเลยที่1กับพวกอีก3คนอยู่ในที่นั้นด้วยจำเลยที่4พูดกับบุตรชายของผู้เสียหายว่า'เขาเอาเท่าไหร่ก็ให้เขาไปเสียจะได้หมดเวรหมดกรรมกัน'พฤติการณ์ของจำเลยที่4เป็นการช่วยพูดให้บุตรชายผู้เสียหายหาเงินค่าไถ่มาให้ตามที่พวกจำเลยเรียกร้องเข้าลักษณะความผิดฐานกระทำการเป็นคนกลางเรียกทรัพย์สินจากผู้ที่จะให้ค่าไถ่มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวเท่านั้น.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2529
จำเลยที่1กับจำเลยคนอื่นร่วมกันจับตัวผู้เสียหายไปเพื่อเรียกค่าไถ่ขณะที่บุตรชายของผู้เสียหายนำเงินค่าไถ่ไปให้จำเลยที่1มีจำเลยที่2และจำเลยที่4ซึ่งเป็นภรรยาของจำเลยที่1กับพวกอีก3คนอยู่ในที่นั้นด้วยจำเลยที่4พูดกับบุตรชายของผู้เสียหายว่า"เขาเอาเท่าไหร่ก็ให้เขาไปเสียจะได้หมดเวรหมดกรรมกัน"พฤติการณ์ของจำเลยที่4เป็นการช่วยพูดให้บุตรชายผู้เสียหายหาเงินค่าไถ่มาให้ตามที่พวกจำเลยเรียกร้องเข้าลักษณะความผิดฐานกระทำการเป็นคนกลางเรียกทรัพย์สินจากผู้ที่จะให้ค่าไถ่มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวเท่านั้น.


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2527
จำเลยที่ 2 ติดต่อคนร้ายเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายซึ่งถูกจับไปเรียก ค่าไถ่โดยสุจริต ไม่มีพฤติการณ์ใดส่อไปในทำนองว่ามีส่วนได้เสียหรือ ร่วมรู้เห็นเป็นใจกับคนร้าย ผู้เสียหายกับจำเลยอยู่คนละจังหวัด การเดินทางไปติดต่อคนร้ายก็ดี ติดต่อผู้เสียหายก็ดีย่อมต้องเสียค่าใช้จ่าย การที่ผู้เสียหายมอบเงินจำนวนหนึ่งให้จำเลยเป็นค่าใช้จ่ายเงินดังกล่าว จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่มิควรได้ตามความหมายของมาตรา 315 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิด
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท