Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 311 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 311 หรือ มาตรา 311 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 311 ” หรือ “มาตรา 311 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถูกหน่วงเหนี่ยว ถูกกักขัง หรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก เป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวถูกกักขัง หรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้นถึงแก่ความตายหรือรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๑ หรือมาตรา ๓๐๐
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐] “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 311” หรือ “มาตรา 311 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2515
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระราชวังกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แล้วจำเลยที่ 2 ได้แจ้งพร้อมแสดงหมายจับให้โจทก์ดู โจทก์จึงชำระเงินตามเช็คให้โดยจำเลยที่ 2 ตกลงว่าจะไปถอนคำร้องทุกข์ แต่จำเลยไม่ถอนคำร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน เป็นเหตุให้โจทก์ถูกเจ้าพนักงานจับกุมและควบคุมกักขัง ปราศจากเสรีภาพไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง อันเป็นการทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถูกกักขังและปราศจากเสรีภาพในร่างกายโดยมิชอบ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310, 311, 83ดังนี้ การฟ้องขอให้ลงโทษฐานความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 310 ต้องปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวกักขังหรือทำให้ปราศจากเสรีภาพต่อร่างกาย และการขอให้ลงโทษฐานประมาทตามมาตรา 311 โจทก์ก็ไม่ได้บรรยายชัดว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทอย่างไร ซึ่งจะพอทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์ยังไม่แสดงพอถึงการกระทำของจำเลยอันจะรับพิจารณาเอาเป็นความผิดแก่จำเลยตามที่ขอ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม (เทียบฎีกาที่ 105/2503)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2502
ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยร้องเรียนและแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ถ้าโจทก์มิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่า ข้อความที่จำเลยร้องเรียนและแจ้งแก่เจ้าพนักงานนั้น เท็จอย่างใดและความจริงเป็นฉันใด อันพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี แม้ข้อความในตอนท้ายจะมีกล่าวว่าโดยจำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่า เป็นข้อความเท็จหรือมิได้มีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น ก็เป็นข้อความที่กล่าวอย่างเคลือบคลุม ไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้ว่าเป็นเท็จในข้อใด คำว่า "หรือมิได้มีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น" ก็เป็นคำกล่าวอย่างกว้างๆ ไม่แน่ชัดว่าเหตุที่ไม่มีการกระทำผิดเกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะไม่มีการกระทำหรือว่าเป็นเพราะการกระทำนั้นไม่เป็นผิดอาญาทั้งมีคำว่า "หรือ" ประกอบอยู่ในฟ้อง ซึ่งเป็นถ้อยคำที่แสดงถึงการไม่ยืนยันให้แน่ชัด ฟ้องโจทก์เช่นนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไปแจ้งความเท็จหาว่าโจทก์ลักทรัพย์เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานจับโจทก์ไปควบคุมไว้ ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้เสื่อมเสียอิสระภาพนั้น การที่โจทก์ถูกจับกุมและถูกควบคุมตัวดังที่กล่าวในฟ้อง ย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานซึ่งจะเห็นสมควรปฏิบัติต่อโจทก์อย่างใดตามควรแก่กรณี เพียงแต่พิจารณาฟ้อง ก็ยกฟ้องได้แล้ว เพราะตามที่บรรยายในฟ้องจำเลยยังไม่มีความผิดฐานนี้


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2502
ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยร้องเรียนแจ้งความเท็จจริงต่อเจ้าพนักงาน ถ้าโจทก์มิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่า ข้อความที่จำเลยร้องเรียนและแจ้งแก่เจ้าพนักงานนั้น เท็จอย่างใด และความจริงเป็นฉันใด อันพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี แม้ข้อความในตอนท้ายจะมีกล่าวว่า โดยจำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่า เป็นข้อความเท็จหรือมิได้มีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น ก็เป็นข้อความที่กล่าวอย่างเคลือบคลุม ไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้ว่าเป็นข้อเท็จในข้อใด คำว่า "หรือมิได้มีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น" ก็เป็นคำกล่าวอย่างกว้าง ๆ ไม่แน่ชัดว่าเหตุที่ไม่มีการกระทำผิดเกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะไม่มีการกระทำหรือว่าเป็นเพราะการกระทำนั้นไม่เป็นผิดอาญา ทั้งมีคำว่า "หรือ" ประกอบอยู่ในฟ้อง ซึ่งเป็นถ้อยคำที่แสดงถึงการไม่ยืนยันให้แน่ชัด ฟ้องโจทก์เช่นนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไปแจ้งความเท็จหาว่าโจทก์ลักทรัพย์เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานจับโจทก์ไปควบคุมไว้ ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้เสื่อมเสียอิสระภาพนั้น การที่โจทก์ถูกจับกุมและถูกควบคุมตัวดังที่กล่าวในฟ้อง ย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานซึ่งจะเห็นสมควรปฏิบัติต่อโจทก์อย่างใด ตามควรแก่กรณี เพียงแต่พิจารณาฟ้อง ก็ยกฟ้องได้แล้ว เพราะตามที่บรรยายในฟ้องจำเลยยังไม่มีความผิดฐานนี้
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท