Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 31 หรือ มาตรา 31 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 31 ” หรือ “มาตรา 31 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ในกรณีที่ศาลจะพิพากษาให้ปรับผู้กระทำความผิดหลายคน ในความผิดอันเดียวกัน ในกรณีเดียวกัน ให้ศาลลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคล”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 31” หรือ “มาตรา 31 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5481/2548
พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 118 บัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 117? ต้องระวางโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใดในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าร้อยบาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละหนึ่งหมื่นบาท" ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เดินเรือในน่านน้ำไทย ฐานนี้จะต้องถูกลงโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใดในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าร้อยบาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละหนึ่งหมื่นบาท มิได้มีข้อจำกัดว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนให้ปรับรวมกันตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใด ซึ่ง ป.อ. มาตรา 17 บัญญัติว่า "บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้ใช้ในกรณีความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น" เมื่อ พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทยมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวบุคคลตาม ป.อ. มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลจะพิพากษาให้ปรับผู้กระทำความผิดหลายคนในความผิดอันเดียวกัน ในกรณีเดียวกัน ให้ศาลลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคล" ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวบุคคลชอบแล้ว


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5481/2548
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 118 บัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 117... ต้องระวางโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใดในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าร้อยบาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละหนึ่งหมื่นบาท" ดังนี้ ผู้กระทำความผิดฐานนี้จะต้องถูกลงโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใด มิได้มีข้อจำกัดว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนให้ปรับรวมกันตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใด เมื่อพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องนำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 โดยลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2547
จำเลยตกลงซื้อบุหรี่ซิกาแรตจากผู้ขายที่อยู่ประเทศพม่าไว้ก่อนแล้ว จำเลยใช้ให้ ม. นำบุหรี่ซิกาแรตของกลางเข้ามาในราชอาณาจักร ม. เพียงแต่ไปรับบุหรี่ซิกาแรตของกลางจากผู้ขายที่เกาะสอง ประเทศพม่า จำเลยจึงกระทำการอันเป็นส่วนหนึ่งของความผิด ถือว่าจำเลยร่วมกับ ม. มีบุหรี่ซิกาแรตของกลางอันเป็นยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ ตามกฎหมาย และร่วมกันนำบุหรี่ซิกาแรตของกลางซึ่งผลิตในต่างประเทศและเป็นของต้องจำกัด ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงค่าภาษีศุลกากร เมื่อจำเลยจะนำบุหรี่ซิกาแรตของกลางไปขายให้ แก่ลูกค้าที่จังหวัดชุมพร จำเลยจึงร่วมกับ ม. มีบุหรี่ซิกาแรตของกลางไว้เพื่อขาย.
ศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ปรับ 117,000 บาท เนื่องจากจำเลยต้องรับผิดร่วมกับ ม. จำเลยในคดีอื่นของศาลชั้นต้น และปรากฏว่าในคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นลดโทษให้ ม. กึ่งหนึ่ง คงปรับ ม. สำหรับข้อหานี้ 58,500 บาท และ ม. รับโทษกักขังแทนค่าปรับครบถ้วนแล้ว ดังนั้น สำหรับคดีนี้จำเลยจึงคงรับโทษปรับอีก 58,500 บาท
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท