Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 287 หรือ มาตรา 287 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 287 ” หรือ “มาตรา 287 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใด
              (๑) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่ายหรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ๆ ซึ่งเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพหรือสิ่งอื่นใดอันลามก
              (๒) ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว จ่ายแจกหรือแสดงอวดแก่ประชาชน หรือให้เช่าวัตถุหรือสิ่งของเช่นว่านั้น
              (๓) เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลาย หรือการค้าวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว โฆษณาหรือไขข่าวโดยประการใด ๆ ว่ามีบุคคลกระทำการอันเป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือโฆษณาหรือไขข่าวว่าวัตถุ หรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้วจะหาได้จากบุคคลใด หรือโดยวิธีใด
              ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
ผู้ใดครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางเพศสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งส่งต่อซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็กแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใด
              (๑) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่ายหรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ๆ ซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็ก
              (๒) ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก จ่ายแจกหรือแสดงอวดแก่ประชาชนหรือให้เช่าสื่อลามกอนาจารเด็ก
              (๓) เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลาย หรือการค้าสื่อลามกอนาจารเด็กแล้ว โฆษณาหรือไขข่าวโดยประการใด ๆ ว่ามีบุคคลกระทำการอันเป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือโฆษณาหรือไขข่าวว่าสื่อลามกอนาจารเด็กดังกล่าวแล้วจะหาได้จากบุคคลใด หรือโดยวิธีใด
              ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 287” หรือ “มาตรา 287 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17849/2555
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีไว้ซึ่งภาพยนตร์ลามกเพื่อความประสงค์แห่งการค้าหรือโดยการค้าและฐานจำหน่ายภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน มิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกันตาม ป.อ. มาตรา 90


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2554
ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาเป็นความผิดอันยอมความได้หรือเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์โดยชอบแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในข้อหานี้จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
การที่จำเลยส่งเอกสารที่มีข้อความประณามว่าโจทก์ร่วมมีชู้และพฤติกรรมทางเพศของโจทก์ร่วม ภาพถ่ายเปลือยกายของโจทก์ร่วม ภาพถ่ายและแถบบันทึกเสียงการร่วมเพศของโจทก์ร่วมกับจำเลยอันเป็นสิ่งลามกทางไปรษณีย์ไปยังราษฎรในหมู่บ้านที่เกิดเหตุ ถือได้ว่าเป็นการทำให้แพร่หลายโดยมีเจตนาเพื่อการแจกจ่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำให้แพร่หลายซึ่งสิ่งลามก แม้ราษฎรในหมู่บ้านที่เกิดเหตุได้รับเอกสาร รวมทั้งภาพถ่ายและแถบบันทึกเสียงจะไม่ได้อ่านเอกสารหรือดูภาพถ่ายหรือฟังแถบบันทึกเสียง ก็ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จในความผิดฐานทำให้แพร่หลายซึ่งสิ่งลามกตาม ป.อ. มาตรา 287 (1)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13516/2553
คำให้การของจำเลยที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ แต่จำเลยขอแถลงข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นเรื่องจริงของคดีนี้ คือ จำเลยประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป วันเกิดเหตุจำเลยรับจ้าง ฮ. นำแผ่นวีซีดีมาส่งที่บริเวณคลองถม โดย ฮ. บอกจำเลยว่าเป็นแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ทั่วๆ ไป ซึ่งออกฉายในโรงภาพยนตร์มาแล้วเหมือนกับที่เคยจ้างจำเลยมาส่งในครั้งก่อน จำเลยไม่ทราบได้ว่าเป็นแผ่นวีซีดีลามก จำเลยถูก ฮ. หลอกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ส่วนข้อความต่อจากนั้นจำเลยขอให้ศาลชั้นต้นลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้แก่จำเลย ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการตามคำให้การที่ยื่นต่อศาล โจทก์จำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยรับว่าตนมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ ซึ่งเป็นความผิดตามฟ้องเท่านั้น จำเลยไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าแผ่นวีซีดีของกลางเป็นวัตถุหรือสิ่งลามก เท่ากับจำเลยอ้างว่าไม่มีเจตนากระทำความผิด คำให้การของจำเลยจึงยังฟังไม่ได้ว่าเป็นคำให้การรับสารภาพว่า จำเลยกระทำผิดจริงตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน คดีจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท