Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 286 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 286 หรือ มาตรา 286 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 286 ” หรือ “มาตรา 286 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินยี่สิบปี และปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
              (๑) ช่วยเหลือ ให้ความสะดวก หรือคุ้มครองการค้าประเวณีของผู้อื่น
              (๒) รับประโยชน์ไม่ว่ารูปแบบใดจากการค้าประเวณีของผู้อื่นหรือจากผู้ซึ่งค้าประเวณี
              (๓) บังคับ ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือใช้อำนาจครอบงำผู้อื่น หรือรับผู้อื่นเข้าทำงานเพื่อการค้าประเวณี
              (๔) จัดให้มีการค้าประเวณีระหว่างผู้ซึ่งค้าประเวณีกับผู้ใช้บริการ
              (๕) ปกปิดหรืออำพรางแหล่งที่มาของรายได้หรือทรัพย์สินซึ่งได้มาจากการค้าประเวณี

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


              (๖) อยู่ร่วมกับผู้ซึ่งค้าประเวณีหรือสมาคมกับผู้ซึ่งค้าประเวณีคนเดียวหรือหลายคนเป็นอาจิณ และไม่สามารถแสดงที่มาของรายได้ในการดำรงชีพของตน
              (๗) ขัดขวางการดำเนินการของหน่วยงานที่ดูแลในการป้องกัน ควบคุม ช่วยเหลือ หรือให้การศึกษาแก่ผู้ซึ่งค้าประเวณี ผู้ซึ่งจะเข้าร่วมในการค้าประเวณี หรือผู้ซึ่งอาจได้รับอันตรายจากการค้าประเวณี
              ความในวรรคหนึ่ง (๒) และ (๖) มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับประโยชน์ไม่ว่ารูปแบบใดซึ่งพึงได้รับตามกฎหมายหรือตามธรรมจรรยา “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 286” หรือ “มาตรา 286 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2547
จำเลยเป็นเจ้าของสถานค้าประเวณีโดยเปิดเป็นร้านอาหารอยู่ด้วย มีสุรา อาหารและเครื่องดื่มบริการขายแก่ลูกค้า และมีหญิงค้าประเวณีกินอยู่หลับนอนกับจำเลยในสถานที่ดังกล่าว แม้พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องได้รับเงินจากการค้าประเวณีซึ่งมีหญิงโสเภณีเป็นองค์ประกอบในการดำเนินกิจการของจำเลย รายได้ของจำเลยจึงได้จากลูกค้าที่มาเที่ยวมิใช่ได้จากหญิงที่ค้าประเวณีโดยตรง ประกอบกับจำเลยเป็นหญิงมีสามี สามีจำเลยประกอบกิจการขนส่งมีรถยนต์บรรทุกสิบล้อใช้ในกิจการถึง 3 คัน ซึ่งแม้จำเลยจะไม่มีรายได้จากกิจการค้าประเวณี ก็สามารถดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการอาศัยสามี กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยไม่มีปัจจัยอื่นหรือไม่มีปัจจัยอันเพียงพอสำหรับดำรงชีพ การกระทำของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยดำรงชีพแม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2545
จำเลยพาผู้เสียหายมากรุงเทพมหานครแล้วพาผู้เสียหายไปพักโรงแรมที่จำเลยทำหน้าที่เป็นแม่บ้านอยู่ประมาณ 3 เดือน จำเลยมิได้ชักนำผู้เสียหายไปค้าประเวณีในทันที ขณะจำเลยกระทำความผิดนั้น ผู้เสียหายมีอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก

แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นธุระจัดหาหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงอายุกว่าสิบห้าปีโดยหญิงนั้นสมัครใจยินยอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 วรรคสอง และตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ มาตรา 9 วรรคสอง ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ อันเป็นบทที่มีโทษหนักสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในฎีกาโดยชัดแจ้ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215และ 225


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2541
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286 นอกจากผู้กระทำความผิดต้องมีอายุเกินกว่าสิบหกปีแล้วยังต้องได้ความว่า ผู้นั้นดำรงชีพอยู่ได้โดยอาศัยรายได้ทั้งหมดหรือบางส่วนจากหญิงค้าประเวณี ส่วนกรณีใดที่กฎหมายถือว่าเป็นผู้ดำรงชีพอยู่จากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีต้องเป็นไปตามกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 286 วรรคสอง จำเลยเป็นเจ้าของสถานค้าประเวณีโดยมีสุราอาหารและเครื่องดื่มบริการขายแก่ลูกค้าด้วย และมีหญิงค้าประเวณีประมาณ 8 คน กินอยู่หลับนอนกับจำเลยในสถานที่ดังกล่าวแม้พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องได้รับเงินเป็นผลกำไรจาก การค้าประเวณีเช่นว่านั้น ก็เป็นไปในลักษณะที่จำเลยหารายได้จากการดำเนินกิจการค้าประเวณีซึ่งมีหญิงโสเภณีเป็นองค์ประกอบในการดำเนินกิจการของจำเลย รายได้ ของจำเลยจึงได้จากลูกค้าหรือแขกที่มาเที่ยวหาใช่ได้จากหญิงซึ่งค้าประเวณีโดยตรงไม่ และแม้จำเลยจะไม่มีรายได้ จากกิจการค้าประเวณีแต่จำเลยก็ยังสามารถดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการอาศัยสามีหรือบุตรได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยไม่มีปัจจัยอื่นหรือไม่มีปัจจัยอันพอเพียงสำหรับดำรงชีพ การที่ มีหญิงซึ่งค้าประเวณีมาอาศัยกินอยู่หลับนอนในสถานค้าประเวณีของจำเลย แม้จำเลยจะกินอยู่หลับนอนในสถานดังกล่าวด้วยจำเลยก็ไม่ใช่เป็นผู้กินอยู่หลับนอนหรือรับเงินหรือประโยชน์อื่นโดยหญิงซึ่งค้าประเวณีเป็นผู้จัดให้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 286 วรรคสอง(2) การกระทำของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่า จำเลยดำรงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท