Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 282 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 282 หรือ มาตรา 282 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 282 ” หรือ “มาตรา 282 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิง แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
              ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
              ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
              ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น รับตัวบุคคลซึ่งมีผู้จัดหา ล่อไป หรือพาไปตามวรรคแรก วรรคสอง หรือวรรคสาม หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคแรก วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐] “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 282” หรือ “มาตรา 282 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2200/2564
ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่ห้องเช่ากับจำเลยโดยออกค่าเช่าคนละครึ่ง ม. กับชายคนหนึ่งติดต่อผู้เสียหายไปขายบริการทางเพศโดยจำเลยไม่ได้มีส่วนร่วมรับการติดต่อตกลงด้วย แต่จำเลยพูดสนับสนุนให้ผู้เสียหายไปขายบริการทางเพศเพื่อจะได้มีเงินมาชำระค่าเช่าห้องพัก และร่วมเดินทางไปที่โรงแรมกับผู้เสียหายในลักษณะพาไปขายบริการทางเพศเนื่องจากผู้เสียหายอายุ 16 ปี อาจมีปัญหาในการเข้าใช้บริการโรงแรม ทั้งเมื่อเข้าไปในห้องพักสายลับล่อซื้อถามว่าคนไหนจะมาบริการ จำเลยบอกว่าเป็นผู้เสียหาย สายลับจึงมอบเงินที่ใช้ล่อซื้อให้จำเลย และเมื่อจับกุมตรวจค้นจำเลยก็พบเงินที่ใช้ล่อซื้ออยู่ในกระเป๋าสะพายของจำเลย บ่งชี้ว่าจำเลยมีส่วนร่วมรู้เห็น ร่วมวางแผนตัดสินใจร่วมกันหรือแบ่งหน้าที่กันทำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4983/2563
แม้ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 มาทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟที่ร้านของจำเลยเองโดยจำเลยไม่ได้ชักชวน แต่ขณะอยู่กับจำเลยที่ร้านก็ถือว่าผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ยังอยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 บิดาตลอดเวลา การที่จำเลยรู้เห็นยินยอมให้ลูกค้าใช้ร้านจำเลยเป็นสถานที่ติดต่อพาผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ออกจากร้านไปทำการค้าประเวณีเพื่อสำเร็จความใคร่ที่อื่น โดยจำเลยได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยมิชอบจากค่าสุราอาหารที่ลูกค้าต้องสั่งเพิ่มพิเศษและลูกค้าต้องชำระค่าเสียเวลาให้แก่จำเลย ถือว่าจำเลยกระทำการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 จำเลยจึงมีความผิดฐานปราศจากเหตุอันสมควรพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจารแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีเด็ก ก็ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็กตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง (5) ครบถ้วนแล้ว เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 4 (เดิม) การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบก็คือการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีนั่นเอง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1377/2563
เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมามีน้ำหนักให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยเป็นผู้ชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ให้ไปมีเพศสัมพันธ์กับ ส. พฤติการณ์ของจำเลยที่ชักชวนผู้เสียหายที่ 1 นับตั้งแต่ครั้งแรกในคืนที่จำเลยพบผู้เสียหายที่ 1 ในร้านอาหาร โดยการตามผู้เสียหายที่ 1 ไปที่ห้องน้ำเพื่อบอกว่า ส. ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับผู้เสียหายที่ 1 และ ส. จะให้ทุกอย่างตามที่ต้องการ จนกระทั่งวันเกิดเหตุจำเลยไปหาผู้เสียหายที่ 1 ที่บ้านเพื่อนของผู้เสียหายที่ 1 และยังคงพูดจาชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ไปมีเพศสัมพันธ์กับ ส. อีก จนผู้เสียหายที่ 1 ยอมตามที่จำเลยชักชวนและหลังจาก ส. พาผู้เสียหายที่ 1 ไปมีเพศสัมพันธ์ แล้วกลับมาที่ร้านอาหารดังกล่าว จำเลยได้รับเงินจากผู้เสียหายที่ 1 จำนวน 500 บาท นอกจากนี้ ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 ยังอยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแล การที่จำเลยชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ไปพบ ส. ที่ร้านอาหารเพื่อค้าประเวณีย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 แม้ผู้เสียหายที่ 1 จะสมัครใจยินยอมไปกับจำเลยก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากผู้เสียหายที่ 2 เช่นนี้แล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรและเพื่อการอนาจาร ฐานเป็นธุระจัดหาซึ่งบุคคลใดเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีแม้บุคคลนั้นจะยินยอมก็ตาม และเป็นการกระทำต่อเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี เป็นธุระจัดหาเด็กเพื่อเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ อันเป็นการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา หรือพาไปเพื่ออนาจาร แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม และเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี และชักจูงส่งเสริมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรสำหรับค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายกคำร้อง แม้ผู้ร้องจะไม่ได้ฎีกาแต่คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ศาลฎีกามีอำนาจหยิกยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้เป็นไปตามผลของคดีอาญาได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรและเพื่อการอนาจาร การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดและจำต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้อง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท